การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 THE DEVELOPMENT OF SCIENTIFIC CONCEPTS AND CRITICAL THINKING SKILL USING INQUIRY BASED APPROACH FOR MATH

Main Article Content

วันเพ็ญ บูรณสุข
สุธี พรรณหาญ
ศักดิ์ สุวรรณฉาย

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน เรื่อง สารและสมบัติของสาร เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน เรื่อง สารและสมบัติของสาร ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดใหม่พรหมสุวรรณ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2555 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน เรื่อง สารและสมบัติของสาร จำนวน 10 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารและสมบัติของสาร และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การเปรียบเทียบคะแนนมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ และเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 73.33 ของคะแนนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม และทักษะการวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT


The purposes of this research were 1) to compare scientific concepts entitled “Substances and its Property” of Mathayomsuksa I students by using inquiry based approach with the school,s passing criterion of 65% of the full marks, and 2) to compare the students, critical thinking skill between the beginning and the end of the study. The target group consisted of 30 Mathayomsuksa I students at Watmaipromsuwan School in Kabinburee District, Prachinburee Province, under the Office of Prachinburee Educational Service Area 2, during the second semester of the 2013 academic year. The research tools were 1) Lesson Plan Inquiry Based Approach 2) Forms of Scientific Concepts Test 3) Forms of Critical Thinking Skill Test.
The results of the research indicated that::
The students, scientific concepts at post-instruction were at the average 73.33% of the full marks and got higher than the criterion of 65% of the full marks and the students critical thinking skill at post-instruction was significantly higher than their pre-instruction at the .05 level of significance.

Article Details

Section
Research Article