ความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร WORK STRESS OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ และขนาดของโรงเรียนกับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 438 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อหาระดับความเครียด และแบบประเมินความเครียดในการปฏิบัติงาน จำนวน 40 ข้อ เพื่อประเมินความเครียดในการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ และค่าสถิติไคกำลังสอง (Pearson Chi-Square) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีความเครียดระดับต่ำ
2. ระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับขนาดโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The Objectives of this research were (1) to study levels of stress in the work of administrators serving in schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration and (2) to examine the relationship between stress and the factors of gender and school size for school administrators of Bangkok Metropolitan Administration.
The research samples consisted of 438 persons chosen by stratified random sampling. The instrument used to collect the data was a rating scale questionnaire with 40 questions. Statistical computer software was analyzed the data for percentage and Pearson Chi-square.
The research findings are summarized as follows:
1. The level of work stress administrators was at a low level.
2. Gender and the level of stress at work were related at a statistically significant level of .05
3. School size and the level of stress at work were related at a statistically significant level of .05
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา