การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี THE BUDGETING ADMINISTRATION OF SCHOOL IN PATHUM THANI PROVINCE
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และประเภทของโรงเรียน ประชากรคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 553 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 232 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ทดสอบที (t-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า
1. โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารการเงิน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ส่วนด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. เปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและประเภทของโรงเรียน พบว่า
2.1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณ แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
Abstract
The objectives of this research were to study the budgeting administration of school in Pathum Thani province and to compare the budgeting administration of school in Pathum Thani province which classified by working experience and school type. The population were 553 personnel who worked in the budgeting of school and the samples were 232 respondents which calculated by Taro Yamane’ formula and confidence level at 95 percent. The tools used to collect data were a questionnaire with a reliability level of .98. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test (independent) at a significant level of .05.
The research findings were as follows:
1. The budgeting administration of school in Pathum Thani province as a whole were at a high level and each aspect the highest mean was the aspect of supplies or assets and the lowest mean was the aspect of resources procurement and conational investment.
2. The comparisons of the budgeting administration of school in Pathum Thani province which classified by working experience and school type found that
2.1 when classified by working experience as a whole and each aspect there were significant differences at a level of .05.
2.2 when classified by school type there were no differences as a whole, and each aspect
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา