ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี FACTORS AFFECTING TO THE QUALITY OF LIFE AMONG DISABLED PEOPLE IN NONTHABURI PROVINCE

Main Article Content

ศศินันท์ วาสิน
ฤๅเดช เกิดวิชัย
วรางคณา จันทร์คง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ปัจจัยส่วนบุคคล การเห็นคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ และภาคีเครือข่ายคนพิการในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยใช้แนวทางการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methodology) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างในเชิงปริมาณเป็นคนพิการทางกาย/ทางการเคลื่อนไหวใน อ.ปากเกร็ด จ. นนทบุรี จำนวน 154 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ มีจำนวน 18 ราย ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ถดถอย (Regression) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า คนพิการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็น ร้อยละ 66.9 อายุตั้งแต่ 31-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.7 สถานภาพโสด ร้อยละ 46.1 ด้านการศึกษา พบว่า คนพิการร้อยละ 50 จบระดับชั้นประถมศึกษา มีคนพิการที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 33.1 สำหรับรายได้ พบว่า ผู้พิการ ร้อยละ 78.6 มีรายได้น้อยกว่า 500 บาทต่อเดือน และพบว่าแหล่งรายได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.7 มาจากรัฐบาล และระยะเวลาพิการ ส่วนใหญ่ตั่งแต่ 6 ปีขึ้นไป การเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง สัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวน้อย การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอาชีพและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย ภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า คุณภาพชีวิตคนพิการทาง ด้านร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม อยู่ในระดับน้อย
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ภาคีเครือข่ายคนพิการมีอิทธิพลทางบวกกับคุณภาพชีวิตคนพิการมากที่สุด รองลงมาคือ การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ การเห็นคุณค่าในตนเอง เพศ และสัมพันธภาพในครอบครัวตามลำดับ ส่วนอายุ และสถานภาพสมรส มีอิทธิพลทางลบกับคุณภาพชีวิตคนพิการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และจากการวิจัยนี้ พบว่า ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาพิการ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตคนพิการ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองสำคัญที่สุด รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในเครือข่ายคนพิการ สัมพันธภาพในครอบครัว การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ เพศ อายุ และสถานภาพสมรส ตามลำดับ นอกจากนั้น พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านรายได้ การศึกษา และระยะเวลาพิการ ไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการ

ABSTRACT

            The objectives of this research were: 1) To study level of quality of life of disabled, individual factors, self-esteem, family relationships, social networks of disabled, and services of government. 2) To study relationship of factors are affect the quality of life among disabled people in Nonthaburi Province. and 3) Identify ways to improve the quality of life of disabled people in Nonthaburi Province. Research methodology is mixed methods. was comprised of quantitative research and qualitative research. The participants were the physical disability/mobility in Pakkret district, Nonthaburi province. The sample is 154 case by Multi-stage sampling. And samples the qualitative physical disability/mobility 18 case of purposive sampling. The instruments to gather data are questionnaire and In-depth Interview about quality of life. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, regression and path analysis

               The results of research that : Most of disabled people are male 66.9 percent, Age is during 31-59 years old at 48.7 percent, are single at 46.1 percent. A half of disabled people graduating grade. Most are income Less than 500 bath at 78.6 percent and the source of income comes from the government at 74.7 percent more than six years of time. Most of the people in the sample reported that they felt a moderate level of self-esteem. Most of the people reported that family relationships were of moderate importance in the quality of their lives. government services were moderate. The professional and the associate low. Social networks of disabled people in the medium and found that the social disabilities is low. Parts of the physical, mental and environment are moderate.

               Secondly, found that social networks were positively related to quality of life, followed by services of government, self-esteem, gender and family relationship. Statistical significance (p <0.05) and found that the level of education, income, and duration of disability. No related disabilities. The qualitative research focused on ways to improve the quality of life. Self-esteem was first, followed encourage disabled people to participate in the network, the more people with disabilities. family relationship. The services of government, gender, age and marital status, In addition to comprising, it was found that the factor of personal income, education, and duration of disability. Not affect the quality of life of people with disabilities. 

Article Details

Section
Research Article