ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย NEEDS FOR SELF DEVELOPMENT OF THE STAFFS AT THE FACULTY OF COMMERCE AND ACCOUNTANCY, CHULALONGKORN UNIVERSITY

Main Article Content

สุนิษา กลึงพงษ์
สุวพร ตั้งสมวรพงษ์
อรรณพ โพธิสุข

Abstract

บทคัดย่อ         

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ข้าราชการ จำนวน 6 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 29 คน และพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ             (t-test) ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของ เชฟเฟ่

               ผลการวิจัยพบว่า

               1. บุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก

               2. บุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชายและเพศหญิง มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน

               3. บุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมและเป็นรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านสติปัญญาที่ไม่พบความแตกต่าง

               4. บุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านสติปัญญาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ABSTRACT


The purposes of this study were to investigate and to compare the needs for self-development of the staffs at the Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. The study consists of physical, emotional, social and intellectual aspects classified by gender, educational background and work experience. The samples were 6 government officers, 29 permanent employees and 141 staffs. The instrument was five rating scale questionnaires of 50 items with the reliability of .97. The data were statistically analyzed by mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance and Scheffe’s test.
The results were as follows:
1. The staffs of the Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University, rated their needs for self-development in overall and each aspect at a high level.
2. There were no significant differences in the needs of self-development between male and female staffs in overall and each aspect.
3. There were significant differences in the needs of self-development between the staffs with difference educational background in overall and each aspect, except the aspect of intellectual.
4. There were no significant differences in the needs of self-development between the staffs with difference work experience in overall and each aspect, except the aspect of intellectual.

 

Article Details

Section
Research Article