การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้นสำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา BLENDED LEARNING FOR ANIMATION BASIC SKILLS DEVELOPMENT FOR BACHELOR'S DEGREE, EDUCATIONAL TECHNOLOGY
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงาน แอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา 2) ศึกษาผลการฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เป็นนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยการเข้ามาสมัครลงทะเบียนเรียนในเว็บไซต์ โดยใช้เครื่องมือรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อประเมินทักษะการปฏิบัติงาน แอนิเมชั่นเบื้องต้น และแบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน แอนิเมชั่นเบื้องต้น ในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้
1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงาน แอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา
1.1 รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบการเรียนแบบผสมผสาน ขั้นตอนการเรียนแบบผสมผสาน การสร้างงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น และการได้มาซึ่งกระบวนการเรียนแบบผสมผสาน จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยสามารถสรุปรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) การนำเข้า (Input) เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอน, 2) กระบวนการ (Process) เป็นขั้นตอนการเรียน โดยผสานแบบห้องเรียนปกติ 45 เปอร์เซ็นต์ และการจัดการเรียนแบบออนไลน์ 55 เปอร์เซ็นต์ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน ที่มีชื่อว่า 4S2A ย่อมาจาก S1 หมายถึง การสร้างเนื้อเรื่อง (Story), S2 หมายถึง การเขียนบท (Script), S3 หมายถึง การสร้างสตอรี่บอร์ด (Storyboard), S4 หมายถึง การบันทึกเสียง (Sounds), A1 หมายถึง การสร้างการเคลื่อนไหว (Animate) และ A2 หมายถึง การสร้างงานแอนิเมติค (Animatic) เป็นต้น, 3) ผลลัพธ์ (Output) เป็นการศึกษาทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน และ 4) ผลตอบรับ (Feedback) ผลที่เกิดขึ้นหลังจากมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนในการเรียนการสอน
1.2 ผลการประเมินรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงาน แอนิเมชั่นเบื้องต้น โดยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่าองค์ประกอบ และ ทุกขั้นตอนมีความเหมาะสม
2. ผลการฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา
จากการศึกษาผลการฝึกทักษะการปฏิบัติงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น พบว่า ผู้เรียนจำนวน 30 คน มีค่าเฉลี่ยทักษะการสร้างงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น ( =2.76) อยู่ในระดับดี โดยทักษะการบันทึกเสียงเป็นทักษะที่ได้คะแนนสูงที่สุด ( =2.83) อยู่ในระดับดี อันดับที่ 2 คือ ทักษะการสร้างงานแอนิเมติค ( =2.81) อยู่ในระดับดี อันดับที่ 3 คือทักษะการเขียนบท ( =2.76) อยู่ในระดับดี อันดับที่ 4 คือ ทักษะการสร้างเนื้อเรื่อง ( =2.74) อยู่ในระดับดี อันดับที่ 5 คือ ทักษะการสร้างสตอรี่บอร์ด ( =2.72) อยู่ในระดับดี และอันดับที่ 6 คือทักษะการสร้างการเคลื่อนไหว ( =2.71) อยู่ในระดับดี เป็นต้น
ABSTRACT
A study of Blended Learning for Animation Basic Skills Development for Bachelor’s degree, Education Technology, has two main objectives. 1) To develop a blended learning style for animation basic skills for bachelor’s degree students in education technology department. 2) To study basic animation skill practicing for bachelor’s degree students in education technology department by using a group of 30 selected sample students. All of them are bachelor’s degree students from education technology department, faculty of education, Srinakharinwirot University in semester 1 year 2012. The samples were selected under a purposive sampling method. The samples had to do their enrolment through a website by using a blended learning and teaching style for the purpose of evaluation their skill and their performance on basic animation. Moreover, there is a performance evaluation form to evaluate a basic animation performance in this study.
1. The result of developing a blended learning style for animation basic skills for bachelor’s degree students in education technology department.
1.1 According to a primary study and a primary data analysis on blended learning element, blended learning procedure, basic animation skill and blended learning obtained by field data collecting, the study and analysis illustrate that there are 4 significant components in a blended learning style for animation basic skills for bachelor’s degree students in education technology department. 1) Input: Input is the preparation stage before access to the next stage, which is process stage. 2) Process: This stage is an actual blended learning style between 45 percent of a traditional physical class and 55 percent of online learning by using a 4S2A technique. 4s include Story creating (S1), Script writing (S2), Storyboard writing (S3) and Sound recording (S4). Likewise, 2a stands for animate (A1) and animatic (A2). 3) Output: This stage is an examination of basic animation skill that students achieve through a blended learning style. 4) Feedback is a result of interaction during the learning process.
1.2 The result of the evaluation of a blended learning style for animation basic skills evaluation by five experts indicates that the elements accord are another and all procedures are appropriate.
2. The result of skill practicing and animation performing task for bachelor’s degree students in education technology department
According to a study of skill practicing and animation performing task, it was found that from thirty subjects have a mean of basic animation skills at 2.76, ( =2.76) which is a fine result. The skill that scores the highest is a sound recording skill, It’s score is at 2.83, which is a fine result. The second highest is an animatic creating skill. It’s score is at 2.81, which is also considered a fine result. The third is a script writing skill. It’s score is ay 2.76, which is regarded as a fine result. The fourth highest is a story creating skill. It’s score is at 2.74, which is a fine outcome. The fifth place is a storyboard writing skill. It’s score is at 2.72. The score is still considered as a fine result. The sixth is a animation creating skill. It’s score is at 2.71 mean, which is also regarded as a fine result.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา