การศึกษาการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม A STUDY OF THE IMPLEMENTATION OF LEARNING RESOURCE CENTERS AND LOCAL WISDOM IN THE MANAGEMENT OF INSTRUCTIONAL ACTIVITIES IN SAMUT SON

Main Article Content

เปรมฤดี ปุโรทกานนท์
สุวรรณา โชติสุกานต์
ภิเษก จันทร์เอี่ยม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อเปรียบเทียบการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประเภทของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 1,326 คน จาก 85 โรงเรียน
ในการวิจัยครั้งนี้คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากคิดจากตารางประชากรและกลุ่มตัวย่าง ของ (เครจชี่และมอร์เกน อ้างถึงใน ยุทธ ไกยวรรณ์, 2545) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 307 คน
ผลการวิจัยพบว่า
การปฏิบัติการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือจัดทำแผนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับจุดประสงค์ ด้านจัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือรายงานผล สรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
การเปรียบเทียบกระบวนการการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประเภทของของโรงเรียน พบว่าประเภทโรงเรียนต่างกันมีการปฏิบัติการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ต่างกัน
การเปรียบเทียบการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวม พบว่าประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีการปฏิบัติการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ ด้านจัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านจัดทำแผนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับจุดประสงค์ ด้านทำการวัดผล ประเมินผล และด้านรายงานผล สรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ มีการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงครามต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านขอความร่วมมือกับชุมชนและวิทยากรท้องถิ่น และด้านเชิญวิทยากรท้องถิ่นมาถ่ายทอด ความรู้ หรือนำนักเรียนไปยัง แหล่งเรียนรู้

ABSTRACT

The objectives of this study were to study in implementation of learning resource centers and local wisdom in the management of instructional activities in Samut Songkhram and to compare the implementation of learning resource centers and local wisdom in the management of instructional activities in Samut Songkhram schools, classified by school type and work experience.
The population in this study included 1,326 administrators and teachers from 85 primary and secondary schools under the office of Basic Education, Sumut Songkhram Province.
The samples in this study consisted of 307 teachers and administrators from The stated schools, Obtained by using Krejeie and Morgan Table,
The findings were as follows:
The level of implementation of learning resourse centers and local wisdom in the management of instructional activities in Samut Songkhram schools, as a whole, was at a high level. Concerning each aspect, in order of high level to low level, the results were as follows: the study of curriculum and details, the making of lesson plans and learning processes in accordance with the objectives, the collection of the information of learning resources and local wisdom, and the report and conclusion of the results to the personnel related.
The comparison of the implementation of learning resource centers and local wisdom in the management of instructional activities in Samut Songkhram schools, classified by school type, showed no significant difference.
The comparison of the implementation of learning resource centers and local wisdom in the management of instructional activities in Samut Songkhram schools, classified by work experience, as a whole, showed no significant difference. Concerning each aspect, there were significant difference at the level of .05 in four aspects as follows: the study of curriculum and details, the collection of the information of learning resource and local wisdom, the making of lesson plans and learning processes in accordance with the objective, and testing, evaluation and reporting the results and conclusion to the personnel related. However, regarding the cooperation with the community and local resourceful persons and the invitation of local resourceful persons to give knowledge of the students or taking the students to study in the learning resource centers, it was not significantly different.

Article Details

Section
Research Article