การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 THE DEVELOPMENT OF STANDARD INDICATORS ON ENVIRONMENTAL EDUCATION FOR SCHOOL UNDER TAK PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

Main Article Content

ไพศาล ปันแดน ปันแดน
วินัย วีระวัฒนานนท์
รวีวรรณ สนั่นวรเกียรติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 350 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้ตารางเลขสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างหรือโมเดลลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า (1) เกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 มีจำนวน 6 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 60 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่2 มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 3 มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 4 มาตรฐานด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 5 มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบหลักที่6 มาตรฐานด้านการวัดและประเมินผล มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด (2) โมเดลเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 1ขององค์ประกอบและตัวชี้วัด มี6 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความน่าเชื่อถือได้ของการวัดอยู่ในระดับสูงผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์(\chi 2 = 25.31, p= 0.38, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.0035, CFI = 1.00, RMSEA = 0.0099, CN = 948.72) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 ขององค์ประกอบหลัก 1 โมเดล มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (\chi 2 = 2304.99, p = 1.00 , GFI= 0.95, AGFI = 0.94, RMSEA= 0.000, CN = 405.36)

ABSTRACT

This research aimed to development of standard indicators on environmental education for school under Tak Primary Educational Service Area Office 1. The samples of the research were 350 educational administrators, school administrators and teachers under the jurisdiction of Tak Primary Educational Service Area Office 1,derived by the purposive random sampling and simple random sampling by the use of the random number table. The research instruments were the questionnaire for the focus group, questionnaire and evaluation form. The data were analyzed by the descriptive and inferential statistics, including the congruence value (IOC), coefficient alpha, percentage, arithmetic mean (  ), standard deviation (S.D.) and the structural analysis of the LISREL Model. The research findings revealed as follows: (1) The standardized indicators of the environment education for the schools under the jurisdiction of Tak Primary Educational Service Area Office 1, contained 6 main components, 12 subcomponents and 60 indicators. They included Main Component 1: Management Standard covering the sub-component in 2 standards with 10 indicators; Main Component 2: Learning Management Standard containing the sub-component in 2 standards with 10 indicators; Main Component 3: Learner Quality Standard consisting of the sub-component in 2 standards with 10 indicators; Main Component 4:Environmental Management Standard in Schools composing of the sub-component in 2 standards with 10 indicators; Main Component 5: Participation with Community Standard containing the sub-component in 2 standards with 10 indicators; and Main Component 6: Measurement and Evaluation Standard comprising the subcomponent in 2 standards with 10 indicators. (2) The model of the standardized criterion of the environmental education for the schools under the jurisdiction of Tak Primary Educational Service Area Office 1 from the 1st confirmatory component analysis of the components and indicators consisting of 6 main components and 12 indicators revealed that every component had the statistical significance of the .05 level. The reliable value of the measurement was in the high level; the findings of the congruence value check of the model revealed that the model was appropriate with the empirical data (\chi 2 = 25.31, p = 0.38, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.0035, CFI = 1.00, RMSEA = 0.0099, CN = 948.72). From the 2nd confirmatory component analysis of the components, the findings of the congruence check of the model revealed thatthe model was appropriate with the empirical data (\chi 2 = 2304.99, p = 1.00, GFI= 0.95, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.000, CN = 405.36).

Article Details

Section
Research Article