คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี SERVICE QUALITY OF COMMUNITY HOSPITAL,
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และเปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานีกับมาตรฐานที่คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล กำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้มารับบริการของโรงพยาบาลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี พร้อมข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และเปรียบเทียบคุณภาพการบริการกับมาตรฐานโดยสถิติ t-test (One-Sample t-test)
ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ระดับคุณภาพการบริการโดยรวมและรายด้านทุกด้านของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับสูง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวชี้วัดคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในระดับสูง ยืนยันว่าคุณภาพการบริการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความเชื่อมั่น ด้านการตอบสนอง ด้านความเชื่อถือไว้วางใจ ที่สนองตอบต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ ส่วนด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ มีค่าน้ำหนัก
น้อยกว่าปัจจัยอื่น
2. เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบของคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลกับมาตรฐานที่กำหนดจากคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาล โดยกำหนดค่าเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับ 3 ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทุกด้านมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานในทุกด้าน
ABSTRACT
The purposes of research were to study components and compare level of the service quality of community hospital in Pathum Thani Province with the standard which hospital’s committees have condition. Representative sample was 300 patients of Klongluang hospital, Klongluang district, Pathum Thani Province, randomized by specific random method. Tool of research was questionnaire asking about personal information and data of component and performance indicator about service quality of community hospital in Pathum Thani Province, and suggestion. Statistics used in this research were percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), and comparison of service quality with the standard used t-test (One Sample t-test).
The results of research were as follows:
1. The level of service quality of community hospital in Pathum Thani Province as a whole and each aspect was at a high level. Confirmatory factor analysis of performance indicator about service quality of community hospital in Pathum Thani Province had element value at a high level. The result confirmed that service quality consisted of five components. Considering each aspect, knowing and understanding of patient was the highest level and followed by confidence of
patient, the response to patient and trust, which corresponded to the patients, respectively. The aspect of concrete service was lower than the other.
2. When comparing service quality with the standard which hospital’s committees have condition with standard criteria at 3, the results showed that overall components had higher mean than standard criteria.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา