รูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา A MANAGEMENT MODEL FOR BASIC EDUCATION SCHOOL BASED ON THE SUFFICIENT ECONOMY PHILOSOPHY RELEVANT TO NATIONAL EDUCATION POLICY

Main Article Content

จันทรา อ้ายจันแก้ว
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์
พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอรูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาชาติ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครูกรรมการสถานศึกษา และชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับ ประถมศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด จำนวน 316 คน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3) โรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ 4 แห่ง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากวิธีวิจัยเอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบสังเกตการณ์พหุกรณีศึกษา ประชุมสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงวิชาการอิงผู้เชี่ยวชาญ สอบถามความคิดเห็นในวงกว้าง และประชุมสัมมนาเชิงวิพากษ์

                ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาชาติ คือ การบริหารจัดการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา ตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยมี5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นรวมพลัง 2) ขั้นร่วมวางแผน 3) ขั้นปฏิบัติการ 4) ขั้นประเมินผล 5) ขั้นรับผลจากการกระทำ โดยใช้แผนแม่บทของชุมชนกำกับในด้านวิชาการงบประมาณ บริหารบุคลากรและบริหารทั่วไป

ABSTRACT

                The purposes of this research were to study and to propose a management model for basic education school based on the sufficient economy philosophy relevant to national education policy. The sample was divided into 3 groups including 316 Administrators, teachers and the school board under the Primary Educational Service Area Office in 8 upper north provinces, 5 experts in education and 4 schools selected from the philosophy of sufficiency economy of the Ministry of Education project. The data were collected by using questionnaires, in-depth interviews with experts and focus group discussion. Data were analyzed.

                The results were as follows: The school administration would take the principle of administration used in the management of schools. It should be stressed in four aspects of educational administration, budget, personnel administration and general administration in accordance with the philosophy of sufficiency economy consisting of the principle of modesty, the validity, and the principle of immunity. According to knowledge and moral conditions, the community master plan was taken into account, based on the context of each school. In addition, cooperation of all sectors of the community for the management of schools was required to achieve the national education policy.

Article Details

Section
Research Article