ผลการใช้กระบวนการสอนการเขียนตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธรต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

วรนุช คล้ายสุบรรณ
นันทกา ทาวุฒิ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสอนการเขียนตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธร และนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสอนการเขียนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสอนการเขียนตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธร กับเกณฑ์  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสระแก้ว  อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จำนวน 2 ห้องเรียน โดยผู้วิจัยได้ทดสอบวัดความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษ จากนั้นเลือกนักเรียนห้องที่มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษใกล้เคียงกันแล้วจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบฝึกการเขียนภาษาอังกฤษ  แผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกเขียนภาษาอังกฤษ ตามแนวคิดของบรู๊คส์ และวิทโธร แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษแบบปกติ แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า  1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสระแก้ว ที่เรียนด้วยกระบวนการสอนการเขียนตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธรสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการสอนการเขียนแบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสระแก้ว ที่เรียนด้วยกระบวนการสอนการเขียนตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธรสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะในการวิจัย  1) การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธร ครูผู้สอนจะต้องสอนให้นักเรียนผ่านเกณฑ์แต่ละขั้นก่อนจึงจะเริ่มสอนขั้นต่อไป แต่ถ้านักเรียนยังคงมีข้อบกพร่องในการเรียน ครูจะต้องสอนนักเรียนเป็นรายบุคคลให้เข้าใจก่อนที่จะให้นักเรียนไปเรียนในขั้นต่อไป 2) การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของบรู๊คส์และวิทโธร จะต้องสร้างแบบฝึกการเขียนให้ตรงตามลำดับขั้นตอน และเหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน

 The purposes of this research were: 1) to compare the ability in English writing after learning between the students who studied through using writing process of Brookes and Withrow with the students who studied through using regular instruction and 2) to compare the ability in English writing ability of the students who studied through using writing process of Brookes and Withrow with the standard criterion. The sample consisted of 60 Mathayomsuksa 1 students in Watsrakaew School, Pamok Angthong  which were divided into two groups; the experimental group and the control group by purposive sampling. The instruments used in this study were English writing exercises, the lesson plans based on writing process of Brooks and Withrow, the lesson plans of the regular exercises, and the English writing ability test. The data were analyzed by mean, standard deviation and t - test.
The findings were as follows:
1. After studying through the English writing exercises based on Brooks and Withrow ’s writing process, the experimental group has higher level of English writing ability than that of the control group at 0.01 level of significance.
2. The experimental group has higher level of English writing ability than that of the standard criterion at 0.01 level of significance.
The suggestions were as follows :1 In teaching English writing based on Brooks and Withrow’s writing process, the teachers should have students pass each step before beginning the next step. However, if the students still had problems in learning, the teachers should be make them understand before going to the next step. 2 In teaching English writing based on Brooks and Withrow’s writing process, the teachers should create training exercises according to the sequence and appropriateness to students' abilities.

Article Details

Section
Research Article