การจัดการเรียนการสอนการรู้สารสนเทศสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบูรณาการการรู้สารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน 380 ชุด คิดเป็นร้อยละ 95.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ทั้ง 2 ภาคเรียน ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบทดลอง และการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 2) ความสำคัญของการรู้สารสนเทศของนักเรียน พบว่า ครูมีความเห็นว่า ทักษะการรู้สารสนเทศจะช่วยให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะการรู้สารสนเทศจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น และนักเรียนจำเป็นต้องมีทักษะการรู้สารสนเทศ 3) ความจำเป็นในการบูรณาการการรู้สารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูส่วนใหญ่เห็นว่าจำเป็นต้องบูรณาการการรู้สารสนเทศเข้าในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
The purpose of this research was 1) to study the integration of information literacy in teaching and learning in secondary schools and 2) to study the opinion of teachers toward the integration of information literacy. The sample of the study is 400Science teachers. The tool for gathering information was questionnaire. There were 380 returned questionnaires (98.5 %). The research data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. The research findings found that: 1) Most of secondary schools provided the chemistry, physics, biology and General science courses in both semesters. Most the teaching methods teachers used were experimentation and inquiry approaches. 2) Most of teachers agreed that information literacy was importance for the students. Information literacy skills would help students as lifelong learning , help students learn themselves better and students need information literacy skills. 3). Integration of information literacy into the each subject course was necessary.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา