การเปิดเสรีอาเซียน 2558 ในมิติของทุนทางสังคมของผู้สูงอายุไทย

Main Article Content

พัชรี ตันติวิภาวิน

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่อง การเปิดเสรีอาเซียน 2558 ในมิติของทุนทางสังคมของผู้สูงอายุไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของทุนทางสังคมกับบทบาทของผู้สูงอายุไทย และเพื่อเสนอแนะมิติใหม่ของทุนทางสังคมกับบทบาทของผู้สูงอายุไทย โดยได้นำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่เน้นการสร้างความเข้าใจและทัศนคติเชิงบวก สร้างความมั่นใจให้ผู้สูงอายุเชื่อมั่นว่าชีวิตความเป็นอยู่มีคุณค่าและมีความหมายต่อสังคม เป็นพลังเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุสามารถยืนหยัดต่อการมีชีวิตที่ดีด้วยความเชื่อมั่นไม่ท้อแท้ และเพื่อให้สังคมไทย รวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในมุมมองเชิงบวก มองผู้สูงอายุว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า (Asset) มิใช่เป็นภาระค่าใช้จ่าย (Liability) ไม่ใช่กลุ่มคนที่ต้องพึ่งพา รอรับสวัสดิการ การสงเคราะห์จากภาครัฐเพียงอย่างเดียว ผู้สูงอายุไทยยังมีความสามารถในการจัดการตนเองจนถึงระดับพึ่งตนเองได้ ด้วยการใช้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัว ประสบการณ์ที่มีคุณค่า โดยมีทุนทางสังคม วัฒนธรรมในชุมชน ท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาเป็นมาตรการทางสังคมในการรับมือสังคมผู้สูงอายุของไทยในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งเน้นใช้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงวุฒิ ที่เป็นผู้สูงอายุที่ยังมีศักยภาพและยังคงใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์ในอดีตมาเสริมสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ตามกลุ่มงานวิชาชีพ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มการแพทย์และสาธารณสุข นักกฎหมาย นักการเมือง และนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุไทย ในยุคปัจจุบัน และวิธีการใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยที่ประยุกต์เอาการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กับการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) ผสมเข้าด้วยกัน โดยพื้นที่ในการศึกษาวิจัยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค 8 จังหวัด ดังนี้คือ ภาคเหนือในจังหวัดพะเยาและจังหวัดพิจิตร ภาคกลางในจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสิงห์บุรี ภาคอีสานในจังหวัดสกลนคร และจังหวัดสุรินทร์ ส่วนภาคใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา    การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากกลุ่ม/ชมรม/องค์การ/เครือข่ายของผู้สูงอายุ และหรือกลุ่ม/องค์การ/เครือข่าย ที่มีกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ได้รับการเสนอการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ตลอดจนการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาตัวอย่างที่ดี             (Good Practice) ที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของภาคประชาสังคมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่น
         ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
         สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ภายใต้ความจำกัดและไม่เพียงพอของสวัสดิการของภาครัฐนั้น ชุมชนและท้องถิ่นกลับมีบทบาทเติมเต็มที่สำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการในการรับมือสังคมผู้สูงอายุ โดยอาศัยฐานของ “ทุน” ประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนคือ ทุนทางสังคมวัฒนธรรม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนมนุษย์ (เช่น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง) ทุนสัญลักษณ์ และทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางสังคมที่วางอยู่บนฐาน “ทุน” ที่ชุมชนมี นำไปสู่การนิยามตัวตนใหม่ของผู้สูงอายุไทยในฐานะที่ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม เป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคม (active aging) เพื่อการเสริมสร้างผู้สูงอายุให้เป็นพลังทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ภาครัฐควรปรับเปลี่ยนมุมมองของสังคมที่มีต่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย ในฐานะ “โอกาส” การดำเนินนโยบายควรเป็นรูปแบบผสมผสาน “mix welfare from” บนฐาน “ทุน”  ที่แต่ละชุมชนมีอยู่ สร้างกระบวนการทางสังคมที่เกิดจากภายใน โดยเน้นประเมินบนฐานของความต้องการ อีกทั้งควรเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นนอกจากภาครัฐเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทร่วมด้วย มาตรการที่จะไปเสริมสร้างผู้สูงอายุให้เป็นพลังทางเศรษฐกิจและสังคมตั้งอยู่บนฐานของ “ทุน” ที่สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นอีกภาคส่วนที่มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อน เริ่มจากในระดับครอบครัวต้องดำเนินนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว กระตุ้นจิตสำนึกในการทำบทบาทดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ปรับเปลี่ยนค่านิยมและทัศนคติของสมาชิกในครอบครัวให้มองผู้สูงอายุในเชิงบวก

The objectives of this research were, present the content with an emphasis on building mutual understanding and increasing positive attitude, ensuring the elderly to be confident that live is valuable and meaningful for society in order to strengthen their immunity to live on happily with confidence, encouraging. Thai society including related parties to have a positive look towards the elderly by viewing them as valuable asset, not liability, or those who have to rely on social welfare or government support only, and because the Thai elderly still have ability to manage themselves well to live on their own based on their past valuable knowledge and experience plus social capital and local culture which can be developed to be social measurement to handle the Thai elderly society in the future.
         The research findings show that the Thai society has been moving towards elderly society. Under the limitation and insufficient public welfare, the local and community have a significant role to fulfill the lack in order to mobilize the process to handle the elderly society by using a variety of “local capitals” – social and cultural capital, economic capital, human resource capital (e.g. leading changes), regional uniqueness capital, and natural resources capital. The social process based on “local capitals” would lead the elderly to build up their own identity, to define themselves as those who are of benefit to society as a whole, who can activate social movement through empowering the economic and social role of Thai elderly people. The suggestions from this research are that the government sector should adjust their social perception towards the step-into elderly society by viewing this as “opportunity” to process their policy through “mix welfare” based on the capitals existing in that local community by placing the self-assessment with an emphasis on the needs of local elderly. In addition, it is a good idea to provide gateway to other sectors to share role to empower the economic and social role of Thai elderly people with the base of capitals to enhance local community to play a major role to drive the society beginning from family to wider society as whole.

Article Details

Section
Research Article