คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

พิมพ์พร วิวัฒน์พัฒนะ
วันทนีย์ ภูมิภัทราคม
ธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน (2) เพื่อศึกษาระดับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน (3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน และ(5) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน  407 คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความคาดเคลื่อน.05 ได้กลุ่มอย่าง 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของคุณภาพชีวิตการทำงาน ทั้งฉบับเท่ากับ .91 และค่าความเชื่อมั่นของการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานการใช้ค่าที (t-test)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test เมื่อพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé’ test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple  Regression Analysis แบบ Stepwise)
         ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
         1. การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า มีคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีคุณภาพชีวิตการทำงานสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน อยู่ในระดับสูง รองลงมา 3 อันดับคือ ด้านความภูมิใจในองค์กร อยู่ในระดับสูง ด้านสังคมสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง และด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีคุณภาพชีวิตการทำงานต่ำสุดคือ ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ          
         2. การวิเคราะห์การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานสูงสุดคือ  ด้านการประพฤติตน อยู่ในวินัยและศีลธรรมอันดี อยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมา 3 อันดับคือ ด้านความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและทัศนคติที่ดีต่อองค์กร อยู่ในระดับสูง ด้านความสม่ำเสมอในการทำงานและการอุทิศตน อยู่ในระดับสูง ด้านด้านการปฏิบัติงานทัศนคติและการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีคุณภาพชีวิตการทำงานต่ำสุด คือ ด้านความรู้ความสามารถ
         3. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและหน่วยงานที่ปฏิบัติในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น สถานภาพ อัตราเงินเดือน ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
         4. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา และอัตราเงินเดือนมีความสัมพันธ์และ มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อายุ สถานภาพของบุคลากร และหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน ไม่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน
         5. ความสัมพันธ์คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ สังคมสัมพันธ์ ภาวะอิสระจากงาน ความก้าวหน้าในงาน และลักษณะการบริหารงาน มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนความปลอดภัยในการทำงาน ความมั่นคงในงาน และความภูมิใจในองค์กร ไม่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน

          The objectives of this research were (1) to study the quality level of working life of supporting staff (2) to study the appraisal level of performance of supporting staff (3) to compare the quality of working life of supporting staff classified by personal factors (4) to study the personal factors affecting the performance appraisal of supporting staff and 5) to study the quality of working life affecting the performance appraisal of supporting staff. The samples were 202 respondents from 407 populations of supporting staff of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage which derived from Taro Yamane’s formula at error level of 0.05. The tool employed data collection was a questionnaire at a reliability of .91 and .97 in the aspect of quality of working life and performance appraisal, respectively. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA (F-test) and Stepwise Multiple Regression Analysis.
         The research findings were as follows:
         1. The quality level of working life of supporting staff found that in overall were at a moderate level and each aspect from the highest mean to the lowest mean were the potential development at a high level, the proud of organization at a high level, the social relations and the working safety at a moderate level and the aspect of equitable and sufficient compensation, respectively.
         2. The appraisal level of performance of supporting staff found that in overall were at a high level and each aspect from the highest mean to the lowest mean were the performance of discipline and morality at a highest level, the integrity and good attitude to organization and, the consistency in working and self-sacrifice and the good attitude in working and working with other at a high level, the knowledge and ability, respectively.
         3. The quality of working life of supporting staff classified by personal factors found that gender, age, education level, working period and agency in overall had no difference, except for marital status and salary had  statistically significant difference at a level of .05.
         4. The personal factors  affecting the performance appraisal of supporting staff found that working period, education level and salary had related and affected the performance appraisal of supporting staff  had  statistically significant difference at a level of .05, except for gender, age, education level, position status and agency.
         5.  The quality of working life affecting the performance appraisal of  supporting staff found that the potential development, equitable and sufficient compensation, social relations, jobs independence, jobs progress and executives characteristics had  statistically significant relationship at a level of .05, except for the working safety, jobs security, the proud of organization.

Article Details

Section
Research Article