แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก

Main Article Content

ชูชีพ เอื้อการณ์
สมาน งามสนิท
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์
ปิยะวรรณ เลิศพานิช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย (2) วิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก และ(3) ศึกษาแนวทางการกำหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี   ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน จากประชากร จำนวน 4,265 คน คำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ซึ่งเป็นตัวแทนโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 ราย ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอคือ ผู้ประกอบการ ภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้เครื่องมือคือการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ
ผลการวิจัย พบว่า
1. นโยบายการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ประกอบด้วยทิศทางและเป้าหมายของนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนแม่บท ทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐที่อยู่ภายนอกสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานเอกชน มีทิศทาง และเป้าหมายสำคัญคือ เป้าหมายทางด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนระดับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลกอยู่ในระดับปานกลาง
2. องค์ประกอบการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ (1) ประสิทธิภาพการผลิต (2) คุณภาพสินค้า (3) สารสนเทศการตลาด (4) แรงงาน (5) นโยบายระหว่างประเทศและกฎหมาย และ(6) ความสามารถในการแข่งขัน
3. แนวทางการกำหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก คือการกำหนดนโยบายในแต่ละด้านตามองค์ประกอบการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก ทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้คือ (1) ด้านประสิทธิภาพการผลิตคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอตลอดห่วงโซ่มูลค่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการ การส่งเสริม และพัฒนาการใช้วัตถุดิบในประเทศ และการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2) ด้านคุณภาพสินค้า คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างตราสินค้าสัญชาติไทย (3) ด้านสารสนเทศการตลาดคือ การพัฒนาการตลาดเชิงรุกและการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูล การมอบหมายหรือจัดให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางรับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ (4) ด้านแรงงาน คือการยกระดับทุนมนุษย์ เชิงบูรณาการ การพัฒนาทักษะแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ และการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว(5) ด้านนโยบายระหว่างประเทศและกฎหมาย คือการพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งทอให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ (6) ด้านความสามารถในการแข่งขันคือ การยกระดับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญเพื่อสนับสนุน การสร้างสรรค์และการแข่งขันในเวทีสากล การเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรี และการสร้างโอกาสจากความร่วมมือในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

The objectives of the research were 1) to study the policy on Thai textile industrial promotion and development, 2) to analyze the factors of Thai textile industrial promotion and development toward global competition, 3) to study the guidelines on policy formulation for Thai textile industrial promotion and development for global competition. The mixed methods of research were employed, consisting of quantitative and qualitative methods. The quantitative research was used for samples which were 600 respondents from the populations of 4,265 textile industrial factories which the sample size derived by Taro Yamane’s and selected by proportional stratified random sampling and simple random sampling techniques. Statistics used to analyze data were percentage, frequencies, mean, standard deviation and exploratory factor analysis. The qualitative research was conducted through documents and in-depth interview of 18 key informants selected by purposive sampling from entrepreneurs, public sectors and private sectors and data were analyzed by content analysis and interpretation.
The research findings were as follows :
1. the policies on promotion and development for global competition were based on government public policy by Ministry of Industry and private sector policies, and others to promote  economic growth of the country through the utmost capacity for competition but on the purpose to conserve societies and environment. The findings for the promotion and development of Thai textile for global competition were at the moderate level.
2. The promotion and development of Thai textile industries for global competition were based on (1) productivity (2) product quality (3) marketing information (4) labor intensive (5) international policy and law (6) competitiveness
3. The guidelines on formulation of policy on promotion and development of Thai textile industrial business for the global competition should be made as follows: (1) productivity in all aspects of production should be improved and promoted to the strength of the industrial owner by the development of local textile materials for production to reduce pollutants and to be friend to the environment (2) product quality should be the value added one with new innovation from Thai brands (3) marketing information should consisted of development of proactive marketing and the data should be managed by the central office as a center for textile data that can be used as a measure for the rapid invasion of export promotion (4) for labor intensive, there should be an upgraded and integrated development of skilled labors in textile knowhow which should be  certified and managed by the office of the foreign labor force (5) international policy and law for textile should be synchronized along with national benefits in textile promotion and development; and (6) to keep up competitiveness the promotion and development of Thai textile should be intended  for the global  competition inclusive of free trade policies and mutual cooperation among AEC members for the prosperity of Thai textile industry.

Article Details

Section
Research Article