ภาวะผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ

Main Article Content

กานต์ บุญศิริ
พจนารถ พรเจริญวิโรจน์

Abstract

ทุกหน่วยงานและองค์กรในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนักบริหารองค์กรที่เป็นมืออาชีพ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการองค์กรให้มีความก้าวทันโลกในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ เช่น ด้านเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่ก่อให้เกิดระบบฐานความรู้ที่ใช้ในการแข่งขัน และการร่วมมือบริหารจัดการ องค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการนักบริหารมืออาชีพเพื่อช่วยนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งหมายความรวมถึงการเป็นนักบริหารการศึกษาเช่นกัน การเป็นผู้บริหารการศึกษาที่ดีในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีแรงกดดัน และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายที่แตกต่างไปจากการบริหารการศึกษาที่ผ่านมา การเป็นนักบริหารการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีทั้งความรู้ด้านเทคนิคการบริหาร มีทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องมีคุณลักษณะด้านภาวะของผู้นำที่สามารถวางแผน และมีแนวความคิดด้านการบริหารภายในองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ
นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อการบริหารองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น รวมทั้งมีโลกทัศน์ที่กว้างไกลที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ผู้นำองค์กรมีวิสัยทัศน์ที่สามารถกำหนดภาพในอนาคตขององค์กรได้อย่างชัดเจน มีจิตวิญญาณความเป็นนักบริหาร รวมทั้งบริหารตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม ต้องเป็นผู้มีภูมิความรู้ทางด้านการศึกษา มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพการศึกษา และมีความรู้ในหลักการบริหาร เทคนิคการบริหาร และการวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งต้องรู้จักนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาองค์กรประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ หากผู้บริหารองค์กรมีความสามารถจะส่งผลต่อคุณภาพและความสำเร็จขององค์กรนั้นๆ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาต้องมีความเป็นนักบริหารมืออาชีพ (Professional Focus) บริหารจัดการสถาบันการศึกษาโดยใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มีภาวะผู้นำสูง เป็นผู้ชี้นำทางความคิดไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่กล้าคิด กล้านำ กล้าทำ และกล้าเปลี่ยนแปลง

Professional organizational administrators are today required everywhere in all social institutions of the rapidly changing and competitive world. They are those who shall be captive with all worldly movements, social circumstances, technological progress, as well as well-updated in newly found knowledge and information effectively needed for their fulfillment of administrative responsibilities providing successful output and benefit to their organizations. Such a challenge is implicated inclusively to some those who are educational administrators. As well, to become “good educational administrators” has not been found today an easy task. Differing to responsibility of them in the previous days, educational administrators in today’s world have suffered with different kinds of depressive factors coming from every sense due to rapid socio-economic change with series of problems related to this, and all expectations come to the role of educational administrators for manipulation of various kinds of problems in place. Their state of leadership, possession of variety of knowledge, administrative experience and skills are of great help to succeed well their multiple tasks both inside and outside their responsible institutions. State of leadership of professional administrators must be keen therefore in their role and spirit of “change agent”; the ones possessing in them capacity and personal encouragement to lead, to visualize, to initiate and to create unceasing plans to be executed for progressive changes within their organizations. Besides this, they have to be also representative as leading “model” to others; both in terms of their academic performance, administrative and managerial efficiency and skills, having coherent and qualified experience and skills, as well as being leadership in terms of morality and ethical aptitudes. If the organization has the ability to affect the quality and success of the organization. The education administrator must be a professional focus to manage the Institute by using both science and art and high leadership. Directed towards the idea into practice is truly substantial and leadership changes courage to dare to think and dare to make bold changes.

Article Details

Section
Research Article