รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาความต้องการรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ จำนวน 74 คน และนักศึกษาจำนวน 151 คน ระยะที่ 2 สร้าง (ร่าง) รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัย ระยะที่ 3 พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพร่างรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษา จำนวน 42 คน และ ระยะที่ 4 แก้ไข (ร่าง) รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ฯ และประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ/นำเสนอรายงานการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ 3) ระบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ 4) แบบทดสอบ และ 5) แบบสังเกตพฤติกรรม
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบไปด้วย ขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความรู้ (Create) 2) คัดเลือกความรู้ (Select) 3) ปรับความรู้ (Adapt) 4) เก็บความรู้ (Keep) 5) จัดการความรู้ (Manage) และ 6) เผยแพร่ความรู้ (Publish) และองค์ประกอบของชุมชนทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ บุคคล (People) กิจกรรม (Activity) การสนับสนุน (Supporting) เครื่องมือบนเว็บ (Tools) และองค์ความรู้ และพบว่า องค์ประกอบด้านบุคคล (People) การสนับสนุน (Supporting) และ เครื่องมือบนเว็บ (Tools) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.80, SD=0.45) และค่าเฉลี่ยของขั้นตอนการเผยแพร่ความรู้ (Publish) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 (gif.latex?\bar{X}=4.80, SD=0.45) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากใช้ชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ด้านการวิจัยสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผู้เรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในส่วนของชื่อโครงการฯ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ มีโอกาสที่จะทำงานวิจัยได้สำเร็จและมีการเขียนคำถามในการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย และสมมติฐานการวิจัย ตามลำดับคิดเป็นร้อยละ 85.00 82.60 และ 80.00 ตามลำดับ ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจต่อด้านสื่อและเนื้อหาประเภทสื่อภาพ Infographic มากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hongto, W., & Thammametha, T. (2012). kānphatthanā rūpbǣp chumchon kānrīanrū ʻō̜nlai dōi chai krabūankān sāng khwāmrū phư̄a kānsāng nawatkamkān rīan kānsō̜n khō̜ng khrū phū sō̜n wichā khō̜mphiutœ̄ [The Development of an Online Learning Community Model Using Knowledge Creation Process to Create Instructional Innovation of Computer Teachers]. Retrieved from https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/6954/5997.

Judge, S. K, Osman, K., & Yassin, S. F. M. (2011). Cultivating communication through PBL with ICT. Procedia Social and Behavioral Sciences, 15, 1546–1550.

Nasongkhla, J. (2005). kānʻō̜kbǣp kān rīan kānsō̜n bon wep nai rabop kān rīan ʻilekthrō̜nik [Web-based instruction in E-learning system]. Bangkok: Center for Documents and Textbooks, Faculty of Education.

Netwong, T. (2010). kānphatthanā rūpbǣp kān rīan rūam phư̄a sāng chumchon kānrīanrū ʻō̜nlai læ phon samrit thāngkān rīan wichā theknōlōyī sārasonthēt samrap naksưksā parinyā bandit [Development of a mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in information technology for undergraduate student]s. Doctoral Dissertation, Bangkok: Chulalongkorn University

Panich, W. (2008). Knowledge Management: Practice Edition. The Knowledge Management Institute Foundation. Bangkok.

Sacchanand, C. (2011). Graduate Research and Development. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/gskku/article/download/22901/1958.

Shan Li, Juan Zheng & Yunfeng Zheng. (2021). Towards a new approach to managing teacher online learning: Learning communities as activity systems. The Social Science Journal, 58(3), 383-395, DOI: 10.1016/j.soscij.2019.04.008

Tiantong, M. (2013). nawattakam: kān rīan kānsō̜n dūai khō̜mphiutœ̄ [Innovation: Computer Teaching]. Bangkok: Danex Intercorporation Company Limited.

Tseng, H. (2020). An exploratory study of students’ perceptions of learning management system utilisation and learning community. Research in Learning Technology, 28. https://doi.org/10.25304/rlt.v28.2423.

Yu Chu Yeh, (2010). Knowledge management in blended learning: Effects on professional development in creativity instruction. Computers & Education 56(1), 146-156.