การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำตุ๊กตาล้านนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องการทำตุ๊กตาล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดปาโมกข์ (นรสีห์วิทยาคาร) จังหวัดอ่างทอง จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำตุ๊กตาล้านนา 2) แบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องตุ๊กตาล้านนา (เรื่องพืช เส้นใย การย้อมสี ขั้นตอนการทำตุ๊กตา ภูมิปัญญาท้องถิ่น) และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีการวัดผลระหว่างเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำตุ๊กตาล้านนาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.50) 2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (
=4.74, S.D. = 0.66)
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.
ชุติมา ธรรมรักษา. (2559). การเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2559, จากhttps://sclthailand.org/Th/2011/08/student-centered-learning-demystifying-the-myth/
นันทิกา บินตาฮี. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิคม ชมพูหลง. (2548). ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
น้ำฝน คูเจริญไพศาล, ชมพูนุท ศิยะพงษ์, อภิชญา เดชชาย, และอารีวรรณ เข้มขัน. (2559). การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องการย้อมผ้าจากสีธรรมชาติโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(3), 125-142.
เปรมฤดี ปุโรทกานนท์, สุวรรณา โชติสุกานต์, และภิเษก จันทร์เอี่ยม. (2556). การศึกษาการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 7(1), 159-168.
วิชา ทรวงแสวง. (2543). “ภูมิปญญาทองถิ่นกับการเรียนการสอนในสถาบันราชภัฏ”วารสารวิชาการ. 3(3), 73-79.
วิภาพรรณ พินลา. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 11(2), 22-33.
วีระพงษ์ แสงชูโต. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. พิมพ์
ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โซตนาพริ้นท์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558).สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET)ปีการศึกษา 2558. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2559, จากhttps://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP62558.pdf.
สุทธิรา แก้วมณี. (2559). การใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่องดนตรีและนาฏศิลป์พื้นฐานโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดร้องอ้อ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 10(3), 68-80.
สุกัญญา จันทร์แดง. (2556). ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทางานร่วมกัน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6(2), 567-581.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทัย ดุลยเกษม. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน : กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ : แปลน พริ้นติ้ง.