ดนตรีกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กทารกแรกเกิดจนถึงวัยประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
Abstract
กระบวนการพัฒนาทางเชาวน์ปัญญา ของมนุษย์เป็นกระบวนการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามกลไกทางธรรมชาติและเป็นวิวัฒนาการทางการเติบโตของมนุษย์ตามวัยที่เปลี่ยนแปลงไป แต่กระบวนการพัฒนาดังกล่าวนั้นมีปัจจัยรอบด้านที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญ นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลกอย่าง ฌอง เพียเจต์ เจ้าของทฤษฎี Cognitive Development Theory ได้แบ่งกระบวนการพัฒนาทางเชาวน์ปัญญาออกเป็น 4 ลำดับขั้นตามช่วงระหว่างวัยอายุตั้งแต่ 0 – 15 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิดจนก้าวเข้าสู่ช่วงของการเป็นวัยรุ่น เป็นกระบวนการพัฒนาที่ถูกกระตุ้นและสร้างเสริมจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ เรียนรู้ และการคิดของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเสียงที่ได้ยินผ่านโสตประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเสียงที่ถูกทำให้เกิดขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายใดจุดมุ่งหมายหนึ่ง อย่างไรก็ดีบทความนี้มุ่งเน้นที่จะกล่าวถึงเฉพาะเสียงของเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่สอดแทรกไว้ในกิจกรรมทางดนตรีและการเรียนดนตรี เพื่อเป็นแนวทางให้กับครู อาจารย์ รวมถึงผู้ปกครอง ในการเลือกใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรับรู้ เรียนรู้ การคิด และการตอบสนองเชิงบวกทางเชาวน์ปัญญา ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของวุฒิภาวะทางอารมณ์ ทางจิตใจ และพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ ทำให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งทางกายภาพ ทางจิตใจ ทางสติปัญญา ทางวุฒิภาวะ ทางอารมณ์ ทางความคิด อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
Cognitive development of human is naturally constructed and changed upon growing-up stages of individual. Moreover, the environmental experiencing also plays a crucial role in this process of developing. Jean Piaget divided his “Theory of Cognitive Development” into 4 stages according to the age changed since being as a newborn baby unto becoming a teenager (0 - 15 years old). Apparently, the surrounding environment would directly affect human’s recognizing, learning, and thinking. Especially, the sound they hear through the auditory apparatus no matter from what source it comes from either on purpose or by co-incidence. However, this article will focus just only the sound of instruments in musical learning activities that teachers and parents may use as supportive tools to optimize the cognitive development of the children. It will also help to maturate their emotion and recognition, including social developments that are the key factors to make children growing up as valuable human resources for the future of the society and their own country.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
จิราภา เต็งไตรรัตน์. (2554). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณี ชูชัย เจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา ถิฐาพันธ์. (2553). อยากกระตุ้นให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=425
Boeree, C. G. (2006). Jean Piaget. Retrieved from https://webspace.ship.edu/cgboer/ piaget.html.