แนวทางการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียต่อการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 34 คน ร่วมกับการสังเกตการณ์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นสัมภาษณ์ในแต่ละกลุ่ม พบว่า 1) ชุมชนมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ มีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และมีบริการบ้านพักโฮมสเตย์ 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน บ่งชี้จากรางวัลในระดับต่าง ๆ เช่น รางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และรางวัลมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย และ 3) ควรเร่งจัดทำแผนการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้น
The objectives of this research were 1) to study the community capacity building for sustainable tourism management, 2) to study the success factors and guidelines for sustainable community-based tourism management. The researchers used qualitative research methods with studying the documents and interviewing 34 stakeholders in community which also observed the interviewee for analyzing data during discussion. The findings were 1) the community capacity building is capacity development of sustainable tourism which in a learning center, tourism resources and homestay. 2) the essential success factor for sustainable community-based tourism was guaranteed by cultural tourism’s community award and Thailand homestay standard. 3) we must speed up to make the community-based tourism management plan for contributing to tourism growth.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ชูสิทธิ์ ชูชาติ และคณะ. (2544). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตลุ่มแม่น้ำวาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2557). 12 เมืองต้องห้าม...พลาด พลาดไม่ได้กับ 12 เมืองน่าเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000125455.
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ภูเกริก บัวสอน. (2554). การฟื้นฟูตลาดเก่าในเมืองไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุษาวดี พูลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว 21. 4(ตุลาคม-ธันวาคม), 38-48.
องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้มาก. (2557). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2559-2561 [เอกสารสำเนา]. บุรีรัมย์.