การประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 –2558

Main Article Content

อรสา จรูญธรรม
สุวรรณา โชติสุกานต์
จิตเจริญ ศรขวัญ

Abstract

การวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) 3) เพื่อประเมินการพัฒนาองค์การของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) 4) เพื่อประเมินการบริหารงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ในรอบปีงบประมาณ 2556 ถึง ปีงบประมาณ 2558 โดยใช้วิธีการประเมินผลแบบผสมผสาน (Mixed method evaluation research) โดยมีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแหล่งข้อมูลประกอบด้วย เอกสาร ผู้บริหาร คณะกรรมการที่ปรึกษา บุคลากร และ เครือข่ายผู้ใช้บริการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และ สถิติเชิงพรรณนา ผลการประเมินพบว่า


  1. ด้านประสิทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พบว่า ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งของสำนักงาน พกฉ. ดำเนินการได้ครบถ้วนตามภารกิจ

  2. ด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พบว่า อยู่ในระดับดี โดยเฉพาะ ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ และ ด้านการให้บริการ การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามตามแผนการใช้เงินคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน พบว่า พึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) อยู่ในระดับมากที่สุด

  3. ด้านการพัฒนาองค์การของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พบว่า มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ด้านการจัดแสดงการเรียนรู้ โดยได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารและภายนอกอาคาร

  4. ด้านการบริหารงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พบว่า สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) มีความสำเร็จในการบริหารงานอย่างสูง ด้วยปัจจัยสนับสนุน ดังนี้ ประการแรก เป็นองค์กรขนาดเล็กที่เป็นองค์การมหาชนมีความยืดหยุ่นในการบริหารงานทั้งทางด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ ประการที่สอง คณะกรรมการบริหารมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักต่อหน้าที่ในการทำงาน ทำให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้ร่วมกันในการทำงาน มีเป้าหมายร่วมกัน ทุ่มเท และมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กร ประการที่สาม บุคลากรที่เข้ามาทำงานที่ พกฉ. มีความเป็นมืออาชีพ มีจิตอาสาสูง และ มีความทุ่มเทและเสียสละในการปฏิบัติงาน  ประการสุดท้าย พลังเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นชุมชน ผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ด้านการเกษตรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และ ร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง พกฉ. จึงเป็นศูนย์กลาง กระบวนการจัดการความรู้ด้านการเกษตร 

The  research  aims  to 1) evaluate the work performance effectiveness of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization), 2) evaluate the work performance  efficiency of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization), 3) evaluate the organization development of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization) and 4) evaluate the  organization management of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization), in the  fiscal year of 2013 to 2015. The research applied mix method evaluation, including quantitative and qualitative method. The research instruments, including: the documentary analysis form, interviewing form and questionnaire, were utilized for data collection from official documents, executive officers, consultant commissions, officers, and client net work groups. The content analysis and descriptive statistical analysis were used to analyze research data. The research findings were:


  1. The work performance of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office was highly effective. Most of the works that served the objectives of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office were entirely achieved.

  2. The work performance efficiency of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office was found at high level, especially in aspect of budget spending and client service. The operation of budget spending had been as planned. Whereas, the satisfaction toward client service was definitely high.

  3. The development of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office was continuously pursued. Particularly, as revealed in learning service division, innovation and technology were implemented in both indoor and outdoor learning exhibition.

  4. The organization management of the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office was achieved at very high level with several supported factors. First, the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office was a small organization and operated with flexible management system, mainly in human resource management and annual budget management. Second, executive officers certainly conceptualize and recognized their mission. They were able to establish the unity among officers and lead them worked to accomplish the organization goals. Third, most of the officers were professional, stewardship and committed to the growth of the organization. Finally, the relation between client network groups and the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office were deeply cohesive. They work together to invent agricultural innovation. The Golden Jubilee Museum of Agriculture Office became the knowledge and information shared center.

Article Details

Section
Research Article

References

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2550.ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 50.

Miles, M.B. (1969). Change Process in Public School. (Eugon, Oregon: Center for the Advanced Study of Educational Administration.

Owens, R. G. (1991). Organizational Behaviorin Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall.