กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน ด้านธุรกิจสมุนไพรแปรรูปในเขตจังหวัดลพบุรีเพื่อรองรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน

Main Article Content

ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการธุรกิจสมุนไพรแปรรูปในเขตจังหวัดลพบุรี 2) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน ด้านธุรกิจสมุนไพรแปรรูป ในเขตจังหวัดลพบุรี เพื่อรองรับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน ศึกษาวิจัยด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ   กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปลูกสมุนไพร ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค ในเขตจังหวัดลพบุรี  เครื่องมือในการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ  วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เมทริกซ์ ผลการวิจัยพบว่า ศึกษาสภาพการจัดการธุรกิจสมุนไพรแปรรูปใน เขตจังหวัดลพบุรี พบว่า องค์ประกอบใน 4 ด้าน คือ การตลาด การผลิต การเงิน และการบริหารจัดการ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์กันสูงกว่าร้อยละ 50 แสดงว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจสมุนไพรแปรรูป ส่วนความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปให้ความสำคัญกับด้านการตลาด ในประเด็นคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ สร้างกลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนใน 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร กลุ่มแปรรูป และกลุ่มผู้จำหน่าย คือ 1) ด้านการผลิต ควรพัฒนาทั้งระบบเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน พัฒนาความรู้ และพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 2) ด้านการตลาด ควรพัฒนาทั้งระบบด้วยการสร้างความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ มีนวัตกรรม มีการกระจายผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาด 3) ด้านการเงิน ควรพัฒนาทั้งระบบในด้านความรู้ในการบริหารการเงิน และ 4) ด้านการบริหารจัดการ ควรพัฒนาการดำเนินการทั้งระบบในรูปแบบเครือข่ายทางธุรกิจ เชื่อมโยงในทุกด้าน


         The objectives of this research were to find out: 1) Community business management in privatization of herbal and 2) Create a development strategy of efficiency of community business in privatization of herbal products in Lopburi province within the ASEAN free trade area agreement. This research obtained quantitative and qualitative data. The sample was herbal farmers, privatization herbal business, distributors herbal products business and herbal consumers in Lopburi province. The instruments of research, Quantitative research used were interviews, group discussion and qualitative research used were questionnaires. The quantitative data was analyzed using statistic methodology, which included mean, standard deviation and Pearson correlation method. The qualitative data was a matrix analysis. The result findings from the Pearson correlation the community business management in privatization of herbal was correlated with four fields: marketing, production, finance and management in statistically significant at 0.01 level and higher than 50%. Show that it was important to run a business.  Expectation of consumers to products of herbal business was focus in marketing on the issue of reliable product quality. In the strategy section to create a development strategy of efficiency of community business in 3 strategy is strategy for herbal farmers, strategy for privatization herbal business, strategy for distributors herbal products business as follows; 1) Production should develop the whole system to the standards, knowledge development and product development, 2) Marketing should develop the whole system to the respectful, innovation, product distribution and marketing promotion, 3) financial should develop the whole system to the business network.

Article Details

Section
Research Article

References

กรมการปกครอง. (2556). ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้นจาก https://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_m.php.

ดวงกมล ศิริยงค์. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ศึกษาเฉพาะ 4 ธุรกิจ เอสเอ็มอี ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในรายการ เอสเอ็มอี ตีแตก เพื่อชิงรางวัลสุดยอด เอสเอ็มอีแห่งปี ประจำปี 2554. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 34(1), 185.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์ ระพีพรรณ พิริยะกุล และ นภาพร ขันธนภา. (2559). ผลการดำเนินงานและสมรรถนะของผู้ประกอบการกับขอบข่ายและศักยภาพองค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต. 17(1), 10.

มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี. (2554). เครื่องเทศและสมุนไพร. สืบค้นจาก www.mis.rmutt.ac.th/sme/ Details/InvestmentExamples/I010.doc.

วิชัย โชควิวัฒน์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ และประพจน์ เภตรากาศ, (บรรณาธิการ). (2553). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก (2552-2553). นนทบุรี: สามเจริญพานิชย์.

สุรศักดิ์ อำนวยประวิทย์. (2559). กลยุทธ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 11(1). มิถุนายน 2559.

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2546). คู่มือเทคนิคการเพิ่มผลผลิตในชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

ศศิวิมล สุขบท. (2549). รายงานการวิจัย เรื่อง การแบ่งส่วนตลาดและทางเลือกตลาดเป้าหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย: กรณีศึกษาภาคเหนือ. สงขลา: ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Kim, J.O. and Mueller, C.W. (1978). Introduction to Factor Analysis: Statistical Practical Issue.CA: Sage Publications.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11thed. New Jersey: Prentice - Hall.
Robert. J. Bennett and Colin. (2002). Competitive conditions, competitive advantage and the location of SMEs. Journal of Small Business and Enterprise Development. 9(1), 73-86.