ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพยากรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 199 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า แม่บ้านมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 66.33  (  gif.latex?\bar{X}= 24.26, S.D. = 3.020) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีตัวแปรต้นที่ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคในการคัดแยกขยะ (Beta = 0.317) การได้รับคำแนะนำจากบุคคลในครอบครัว และเพื่อนบ้าน (Beta = 0.294) การมีตำแหน่งทางสังคม และการเป็นสมาชิกของชมรมต่างๆ ในชุมชน (Beta = 0.257) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย (Beta = 0.242) การเข้ารับการอบรมการคัดแยกขยะ และการเพิ่มมูลค่าของขยะ (Beta = 0.198) ทัศนคติเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ (Beta = 0.183) และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน (Beta = 0.142) โดยทั้งหมดสามารถทำนายพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ได้ร้อยละ 32.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          The purpose of this predictive Research was to study factors affecting behavior in solid waste separation among housewives in Bung Phra Sub district, Muang District, Phitsanulok province. The sample were of 199 housewives from Bung Phra Sub district, Muang District, Phitsanulok province. The research tool was the questionnaire. The data were collected during February to March 2016. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple linear regression.


          The findings appeared 66.33 percent of samples  ( gif.latex?\bar{X} = 24.26, S.D. = 3.020) were Behavior in solid waste separation at good level and the predicting factors of behavior in solid waste separation were composed of 1) perceived benefits and barriers of solid waste separation (Beta = 0.317), 2) the guided of family members and the neighborhood (Beta = 0.294), 3) social position and membership clubs (Beta = 0.257), 4) recognition information about solid waste separation (Beta = 0.242), 5) training of solid waste separation and adding value of solid waste (Beta = 0.198), 6) attitude of solid waste separation (Beta = 0.183), and 7) number of household members (Beta = 0.142). The constructed seven independent variables in the multiple regression have a predictive value of 32.70 percent of the variance in the behavior in solid waste separation with statistical significance at the level of P < 0.05.

Article Details

Section
Research Article

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). สถานการณ์ขยะของไทย วิกฤตขยะ 26 ล้านตัน กำจัดได้อย่างถูกต้องแค่ 7.2 ล้านตัน. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2014/09/thailands-garbage-crisis/.

เขมะศิริ นิชชากร. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการแยกขยะมูลฝอยของประชาชน ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

จรรยา ปานพรม. (2554). การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน: เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิชาการค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรหาบัณฑิตสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชัยพร แพภิรมย์รัตน์. (2552). พฤติกรรมการคัดแยกขยะและแนวทางการส่งเสริมการคัดแยกขยะ มูลฝอยของประชาชนบ้านซากแง้ว เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญวุฒิ อุดแก้ว. (2552). พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลกองดิน จังหวัดระยอง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รป.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ฒาลิศา เนียมมณี และเกศสิรี ปั้นธุระ. (2549). พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนใน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2556). พฤติกรรมของแม่บ้านในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในอาคารที่พักอาศัยของกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ปตอ.1) เขตหลักสี่. วารสารวิทยบริการ. 24(1), 84-94.

ธนภรณ์ พรหมมูล, ธีรรัตน์ วิไลรัตน์ และสุปรียา ชามพูนท. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ของประชาชน (กรณีศึกษาชุมชนที่มีการคัดแยกขยะในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก). การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วท.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.