การออกแบบตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปในรูปแบบเลขนศิลป์แบบลาวโซ่ง

Main Article Content

วุฒินันท์ รัตสุข
ปฐวี ศรีโสภา

Abstract

            งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ขั้นตอนในการออกแบบตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปเชิงวัฒนธรรมในงานศิลปกรรมแบบลาวโซ่ง 2) เพื่อหารูปแบบตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปแบบลาวโซ่ง สำหรับใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี และ 3) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ (perception) การใช้ตัวอักษรแบบลาวโซ่ง   ในสื่อสิ่งพิมพ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวลาวโซ่ง หน่วยราชการ ผู้ประกอบการทางด้านการออกแบบสื่อ และนักเรียน นักศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเพชรบุรี ผลการวิจัย พบว่า ความแตกต่างด้านความรู้ในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีของชาวลาวโซ่ง ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องการออกแบบตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปของกลุ่มเป้าหมาย    ทำให้ผู้วิจัยจะได้รับข้อมูลและทัศนคติความชอบที่แตกต่างกันออกไป ยากที่จะสรุปถึงความพอดี ในแต่ละชิ้นงาน ส่วนในด้านของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและความถนัดที่แตกต่างกัน ในแต่ละด้าน เช่น ด้านลายผ้า ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านการออกแบบ และประโยชน์ใช้สอย ก็จะให้ข้อคิดเห็นในส่วนที่เชี่ยวชาญนั้นเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้ผู้วิจัย พบว่า การทำวิจัยในลักษณะดังกล่าว ผู้ออกแบบควรตั้งวัตถุประสงค์เชิงรายละเอียดในการนำไปใช้ได้อย่างชัดเจน โดยผู้วิจัยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์     ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจึงสามารถนำเสนอรูปแบบของตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปที่ผสมผสานการเล่าเรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างกลมกลืนร่วมสมัย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ยังสามารถรับรู้กลิ่นอายทางวัฒนธรรมของชาวลาวโซ่ง สามารถนำเอาผลงาน ชุดนี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


             The objectives of the research were 1) to analyses the design procedure of the cultural-style font and clip art in Lao Song arts, 2) to find Lao Song style font and clip art for printing used to promote lifestyle, culture and traditional tourism 3) to study the perception on use of Lao Song style font in printing of four studied groups including Lao Song ethnics, government officers, media designers and students, in Suphan Buri  province and Petchaburi province. Results of the research showed that differences in familiarity with Lao Song culture and traditions as well as the background knowledge in font and clip art design of sample groups provided divert information and attitudes, making it difficult to draw the conclusion regarding the appropriateness of the works. For experts who have different expertise, e.g. textile design, culture and traditions, design and use of font and clip art, their opinions were predominantly based on their special skills. Therefore, the researchers found that a clear objective detailed for utilization is necessary for this type of study. Recommendations from an advisor and experts help the researchers to present the font and clip art which can contemporarily portray culture and traditions. When used, the works can effectively depict Lao Song culture.

Article Details

Section
Research Article

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สถานการณ์นักท่องเที่ยวปี 2558. สืบค้นจาก https://secretary.mots.go.th/strategy/ewt_dl_link.php?nid=1857&filename=index_2012.

องค์ บรรจุน. (2553). สยาม หลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ: มติชน.