การพัฒนาภาวะผู้นำครู ของนิสิตการศึกษาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม

Main Article Content

มนตา ตุลย์เมธาการ
กัมปนาท บริบูรณ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำครู ของนิสิตการศึกษาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต 5 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 – 3 จำนวน 24 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม และแบบสำรวจภาวะผู้นำครู


            ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมแล้ว นิสิตมีภาวะผู้นำครูสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อคำนวณค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.08 แสดงให้เห็นว่าคะแนนหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม แตกต่างกับคะแนนก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม ในระดับมาก 2) เมื่อพิจารณาภาวะผู้นำครูใน 7 ด้าน พบว่าหลังการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมแล้ว นิสิตมีภาวะผู้นำครูเกือบทุกด้านสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านวัฒนธรรมความร่วมมือ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าขนาดอิทธิพลพบว่าโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมส่งผลให้ภาวะผู้นำครูด้านการปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ และด้านการใช้การประเมินผลและข้อมูลโรงเรียน เพิ่มขึ้นในระดับมาก (Effect Size เท่ากับ 1.04, 0.86, 0.82 ตามลำดับ) ขณะที่โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม ส่งผลให้ภาวะผู้นำครูด้านการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ ด้านการสนับสนุนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีวิชาชีพ และด้านการเข้าถึงและการร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง (Effect Size เท่ากับ 0.76, 0.73, 0.63 ตามลำดับ) โดยที่โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม ส่งผลให้ภาวะผู้นำครูด้านวัฒนธรรมความร่วมมือเพิ่มขึ้นในระดับเล็กน้อย (Effect Size เท่ากับ 0.42)


The objective of this research was to compare teacher leadership of the Bachelor of Educations students at Srinakharinwirot University previously and after using the community service learning program. Samples selected by purposive sampling, consist of 24 students, who are studying in the second, third year of the 2nd semester in the 2558 B.E. academic year, from Srinakharinwirot University’s 5-year Bachelor Degree of Educations (Graduate Studies) programme. Research instruments include the community service learning program and the teacher leadership survey form.


            The research results identified that 1) after having participated in the community service learning program, students have significant higher teacher leadership at 0.05. The effect size was 1.08, indicating that the posttest score is very highly different from the pretest score, 2) when considering teacher leadership in seven domains, it was found that, after having participated in the community service program, students have significant higher teacher leadership, at the 0.05, in almost domains, except the collaborative culture, compared with scores before participating in the program. In this regards, when considering the effect size, it was found that the community service learning program has resulted in high improvement of teacher leadership in the domains of facilitating improvements in instruction and student learning, using research to improve learning, and assessments and data for school, with the effect size of 1.04, 0.86, and 0.82 respectively. Meanwhile, the program affected moderate improvement of teacher leadership in the domains of promoting professional Learning, advocating student learning and profession, and improving outreach and collaboration with families and community, with the effect size of 0.76, 0.73 and 0.63 respectively. Lastly, the program affected low improvement of teacher leadership in the collaborative culture domain, with the effect size of 0.42.

Article Details

Section
Research Article

References

เฉลิมชัย มนูเสวต. (2543). การพัฒนารูปแบบวิชาที่ใช้การเรียนการสอนเชิงบริการในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (อุดมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวาลา เวชยันต์. (2544). การพัฒนาแบบการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม เพื่อส่งเสริมความตระหนักในการรับใช้สังคม ทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย. (2554). “การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์สำหรับกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบ,” ใน รวมบทความทางวิชาการ เรื่อง ความเป็นผู้นำทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ. (2551). เข้าใจและเปลี่ยนแปลงชีวิตจิตอาสา...ทำไม. สืบค้นจากhttps://semsikkha.org/tha/index.php/article/article-1/119-why-volunteer.

ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2551). ระบบการบริหารจัดการงานอาสาสมัคร ศึกษากรณี: มูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

สมบัติ ทิพประมวล และกัมปนาท บริบูรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกอบรมด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเป็นยุวอาสาสมัครคุมประพฤติ. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. 12 (2).

สำนักงานยุวกาชาด. (2556). คู่มือวิทยากรสำหรับการอบรมอาสายุวกาชาดหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด. กรุงเทพฯ: ประชาชน.

Teacher Leadership Exploratory Consortium. (2008). Teacher Leader Model Standards. Retrieved November 15, 2014, from https://www.ets.org/s/education_topics/teaching_quality/pdf/teacher_leader_model_standards.pdf.