ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องขยะพลาสติกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

น้ำฝน คูเจริญไพศาล
เพียงขวัญ แก้วเรือง
อรพรรณ วันเพ็ญ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องขยะพลาสติกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์ 75/75 3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องขยะพลาสติกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมฯ 4) ศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมฯ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องขยะพลาสติกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องขยะพลาสติกที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.40 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91   4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมและ 5) แบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}= 4.52, S.D. = 0.17) 2) การทดลองใช้ชุดกิจกรรมพบว่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมมีค่า E1/E2 เท่ากับ 80.11/75.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเรื่องขยะพลาสติกอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.25, S.D. = 0.51)


The purposes of this study were: 1) to develop the learning activity packages on plastic waste based on problem-based learning for high school students and to assess the quality of the packages by experts, 2) to study efficiency of the learning  packages to meet the 75/75 criteria, 3) to compare students’science learning achievement on plastic waste both before and after learning, 4) to study students’ problem-solving skills, and 5) to study students’ satisfaction toward learning by using the learning packages. The sample group was one classroom of 11st grade students using purposive sampling. The research tools consisted of: 1) the science activity packages on plastic waste, 2) the science learning achievement test on plastic waste with reliability at 0.40, 3) the problem-solving skills test with reliability at 0.91, 4) the students’ satisfaction questionnaire toward learning by using the learning packages, and 5) the assessment form of the quality of the learning packages by experts. This study was aquasi-experimental research, the research design was the one group pretest-posttest design. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, percentages, and t-test for dependent samples. The results indicated that: 1) the quality of the learning packages by the experts were at level of very good quality (gif.latex?\bar{X}= 4.52, S.D. = 0.17), 2) the efficiency (E1/E2) of the learning packages were effective at 80.11/75.30, which meet the 75/75 criteria, 3) the mean scores of students’ learning achievement of posttest were higher than those of pretest at the statistically significant 0.05 level, 4) the mean scores of students’ problem-solving skills were 77.02% that higher than 70% of criteria at the statistically significant .05 level, and 5)the students’ satisfaction toward learning was good level of satisfaction (gif.latex?\bar{X}= 4.25, S.D. = 0.51).

Article Details

Section
Research Article

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). คนไทยใช้ถุงพลาสติกวันละพันตัน. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2558, จากhttps://library.pcd.go.th/Multimedia/News/2552/4/23/2.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กุลฤดี รัศมีสวัสดิ์ประยูร เทพนวล และจุไรศิริ ชูรักษ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับการสอนแบบปกติ. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558, สืบค้นจากhttps://www.hu.ac.th/Symposium2014/proceedings/data/3509/3509-1.pdf.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

แคทรียา มุขมาลี และวิมล สำราญวานิช. (2557). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. ในการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่15 : 50 ปี มข. แห่งการอุทิศเพื่อสังคม. หน้า 2594-2602. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทร์จีรา เทพดนตรี. (2558). การพัฒนาบทปฏิบัติการที่เน้นปัญหาเป็นฐานเรื่องยางพาราสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

จิราวรรณ สอนสวัสดิ์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บาซานติ มาจัมดา และพวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2544). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา = Problem-based Learning. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.

เฟื่องลัดดา จิตจักร. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องปฏิกิริยาเคมีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยแบบแผนการทดลองแบบสี่กลุ่มของโซโลมอน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันวิสาข์ ศรีวิไล. (2556). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องพืชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบผสมผสานระหว่างวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับ การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. การศึกษาและการพัฒนาสังคม. 9(2),116-126.

ศิขรินทร์ธาร โคตรสิงห์ ประวิต เอราวรรณ์ และมนูญศิวารมย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 11(2), 40-52.

ศิริลักษณ์ วิทยา. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมเคมีเรื่องปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET).สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2558, สืบค้นจาก https://www.onetresult.niets.or.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไรและทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

Jambeck,J.R.,et al. (2015).Plastic waste inputs from land into the ocean. Science 2015. 347(6223), 768-770.