การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning

Main Article Content

นาถศจี สงค์อินทร์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุภัทรา คงเรือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning  ก่อนและหลังการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง  Big & Small book 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง  Brain-based learning  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2559 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน 2. ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559  โรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1  ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคุณลักษณะของหนังสือที่ครูปฐมวัยใช้ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยมีวิธีการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาคุณลักษณะของหนังสือที่ครูปฐมวัยใช้ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2) การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book ขั้นตอนที่ 3) การทดลองและศึกษาความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning  ด้วยหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book และกระบวนการ AEAE 4 Step ขั้นตอนที่ 4) การศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book  และกระบวนการ AEAE 4 Step ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small Book จำนวน 5 เล่ม ประกอบด้วย เสียง ก ข ค ง จ และ กระบวนการ AEAE 4 Step เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain- based learning ที่ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีผลค่าเฉลี่ยที่ 4.83 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2) ความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big & Small book เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีผลค่าเฉลี่ยที่ 4.73


This study is a research and development model with the following objectives: 1) to develop a Big & Small Book to promote reading ability of children in early childhood based on Brain-based learning approach. 2) To study early childhood reading skills in brain-based learning before and after using the Big & Small book illustrated in rhymes. 3) To study the satisfaction of early school teachers toward the Big & Small book and to promote early reading skills in brain-based learning.  The samples used in this research were 1. Kindergarten children, 1st year, second semester, 2016 kindergarten, Suphanburi kindergarten under the jurisdiction of the Office of Suphanburi Primary education Area 1, with a simple random sampling technique of 28 classrooms. 2. Early childhood teachers who teach pre-kindergarten in kindergarten. 1st year. Second semester. Early childhood under the jurisdiction of the Office of Suphanburi Primary Education Area 1, the sample group consisted of 40 teachers in the characteristics of the textbooks used by preschool teachers. The research methods were 4 steps: Step 1 Study the characteristics of early childhood teachers' reading skills. Step 2) Develop a picture book. Big & Small book chapters and AEAE 4 Step instructional process. Step 3) Experiment and study early reading skills based on Brain based learning with Big & Small book illustrations and AEAE 4 Step process. 4) Early Childhood Teacher satisfaction on using Big & Small book Illustration and AEAE 4 Step process the research found out that 1) the results of the development of 5 Big & Small Book illustrations, including AEAE 4 Steps, to promote early reading skills in Brain-based learning. Qualifications of 5 persons have an average score of 4.83, which means that they are most appropriate. 2) The reading ability of the early childhood was based on the Brain-based learning approach. 3) The results of the evaluation of the satisfaction of the early childhood teachers on the Big & Small book illustrated in rhymes to enhance the reading ability of the preschool children according to the Brain-based learning approach. The highest level average result was 4.73.

Article Details

Section
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว
ฉันทนา ภาคบงกช. (2538). พัฒนาการทางภาษา. ในเอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาการทางภาษาแบบ Whole Language สำหรับเด็กปฐมวัย. (8-9 พฤษภาคม)
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อสรุปสาระสำคัญ. ทฤษฎีและปฏิบัติ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 4 (มกราคม), 51-60.
ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ.
พรพิไล เลิศวิชา. (2552). สอนภาษาไทยตามแนวคิด Brain-based learning. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พัชรี ผลโยธิน. (2537). “ส่งเสริมการเรียนภาษาแบบธรรมชาติได้อย่างไร,” รักลูก. 12 (1482): 188-189
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2549). การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนา สมองสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี Brain-based learning. กรุงเทพฯ: ธนาพริ้นติ้ง
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองสำหรับเด็กวัย 3- 6 ปี Brain - based learning. กรุงเทพฯ: ธนาพริ้นติ้ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). สอนภาษาไทยตามแนวคิด Brain - based Learning. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดและประเมินเด็กแนวใหม่เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัญชลี ไสยวรรณ. (2553). เอกสารประกอบการบรรยาย ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 2. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2553. สืบค้นจาก http://www.e-child-edu.com/ youthcenter/content/articles/big-book-for-child.html