การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

Main Article Content

นภาพร สิงห์นวล
อิสระ สุวรรณบล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและ ภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยและเพื่อเสนอแนะแนวทางรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยให้สามารถแข่งขันระหว่างประเทศในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางบริบทอย่างรวดเร็วได้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี โดยการนำวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาร่วมกันศึกษาหาคำตอบของงานวิจัยเรื่องเดียวกัน แล้วนำผลการวิจัยมาสรุปร่วมกันเพื่อที่จะตอบคำถามการวิจัยได้สมบูรณ์ขึ้น การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ โดยวิธีการทางสถิติตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย แล้วนำ  ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาสร้างข้อคำถามสำหรับดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการประชุมกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาวะผู้นำ การจัดทำหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกระบวนการวิจัยที่ดำเนินการเพื่อพิสูจน์ผลการวิจัย (รูปแบบ) และยืนยันผลการวิจัยว่าถูกต้อง สมบูรณ์ และสามารถนำรูปแบบที่ผู้วิจัยเสนอไปใช้ในการดำเนินการได้จริงในอนาคต กลุ่มตัวอย่าง    ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่ปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับประเภทอำนวยการมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด หรือเคยดำรงตำแหน่งข้างต้นรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งได้รับ การคัดสรรจากส่วนราชการมาเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส. 1) เพื่อตอบแบบสอบถามสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 364 คน ผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ใช้งานผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักบริหารระดับสูง และผู้รับผิดชอบหลักสูตรการพัฒนา นักบริหารระดับสูง จำนวน 12 คน เพื่อการจัดประชุม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสถิติเพื่อสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรมสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และนำโมเดลที่ค้นพบได้ไปจัดทำการประชุมกลุ่มผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยที่ได้จากการวิจัยแบบผสานวิธี คือ “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ แบบบูรณาการ” โดยมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทย ซึ่งประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาวิธีการปรับปรุงกระบวนงานและวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง การฝึกอบรมและการพัฒนาเฉพาะบุคคล การเรียนรู้  เพื่อสร้างทีมงาน สร้างความรู้สึกร่วมและการสร้างคุณค่าในการทำงาน การพัฒนาสมรรถนะทาง     การบริหาร การเทียบเคียง และการเรียนรู้โดยใช้แบบอย่างที่ดี การประเมินแบบ 360 องศา แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง และการพัฒนาบุคลิกภาพและความฉลาดทางอารมณ์ และปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทย ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการระดับสูงของไทย โดยต้องพัฒนาสมรรถนะตามองค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำและการบริหารอย่างมืออาชีพ วิสัยทัศน์และการบริหารคน การวางกลยุทธ์ภาครัฐและความรอบรู้ในการบริหาร ศักยภาพเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง การควบคุมตนเอง  การสอนงานและการมอบหมายงาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีก คือ ความพร้อมของผู้ที่จะได้รับการพัฒนา เช่น ทักษะของการเป็นผู้บริหาร สมรรถนะทางการบริหารตามที่นักบริหารระดับสูงพึงมี  ซึ่งการตัดสินใจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาภาวะผู้นำ ความสามารถในการทำงานให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ การมีความชำนาญในงาน การเป็นทีมงานที่ดี การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้านจริยธรรม คุณธรรม และที่สำคัญคือด้านมีจิตมุ่งบริการ ผู้บังคับบัญชาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สร้างความเป็นผู้นำ ส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการพัฒนาเพื่อให้พร้อมสำหรับการเลื่อนสู่ตำแหน่งในระดับสูง เป็นตัวแทนสำหรับการสืบทอดตำแหน่ง และระบบ Career Path ของหน่วยงาน หากหน่วยงานมีการวางระบบการสืบทอดตำแหน่งและให้ข้าราชการเดินทาง    ตามระบบที่กำหนดไว้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมหรือเอื้อให้ข้าราชการมีความพร้อมในการที่จะได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำต่อไปได้ The proposes of this research were to study the patterns and approaches  of leadership and competencies’ development of those eligible to be appointed to the executive positions of the Thai public sector as well as to propose approaches and patterns of the aforesaid development, and also to find out contributing factors to the development of public sector executives that will enhance national competitiveness in a fast paced environment. This research combines the qualitative and quantitative methods and draw conclusions together to conclusively answer the research question. A questionnaire was used for a quantitative collection of data from sample groups and analysed statistically for the research objectives. Then after, its results were set as questions for a qualitative research method through experts and specialists of leadership development, leadership training course designers and stakeholders in a focus group meeting; thus under the research framework. Qualitative research method is a process to prove and confirm the accuracy of research and to further entail application in the future. The sample group includes 364 participants from those holding the position of directors of not less than two years, or those with equivalent positions of not less than two years as per the criteria and conditions set by C.S.C, and those selected by government agencies to attend the Civil Service Executive Development Program: Visionary and Moral Leadership. Experts and specialists includes twelve of those in management and human resource development of the public and private sectors, those attended the CSED Program and its users.  Acquired data were analysed by qualitative program. The quantitative research procedure was done through Structural Equation Modeling (SEM) of which   a model was set in the aforesaid focus group meeting. The results of this research showed that integrative leadership management model of public sector executives includes progressive work process and method improvement, individual development plan, team building, shared value, managerial competency development, benchmarking and best practice; 360 degree appraisal, and personality and EQ development. Furthermore, supporting factors of leadership development of the public sector executives include management competency consisting of professional leadership management, vision and human resource management, strategic planning and knowledge of management, competence       to lead changes, self control, coaching and delegation. Other vital factors are readiness of course participants such as managerial skills and appropriate managerial competencies. Decision making is a vital factor leading to the development of leadership, performance team skills, integrity and ethics; other important factors are public service consciousness and higher ranking chiefs since they are creators and supporters of such development to prepare for higher position promotions, to be successors and to set career paths within the organizations. If the departments apply succession plans and perform accordingly, it will be one vital key success factor to support the readiness of leadership development.

Article Details

Section
Research Article

References

จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2553). การพัฒนาผู้นำระดับสูงระบบราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.2(2).

สุภมาศ อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำนักงาน ก.พ. (2545). การประเมินข้าราชการระดับสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงาน ก.พ. (2556ก). กำลังคนภาครัฐ 2556: ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ: 21 เซนจูรี่.

สำนักงาน ก.พ. (2556 ข). สมรรถนะหลักทางการบริหารของนักบริหารระดับสูง. นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. สืบค้นจากhttps://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/thaiglobal/nov-02.jsp.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2556). ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ปี 2013.กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). สรุปผลการดำเนินงาน “การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน” ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สภาปฏิรูปแห่งชาติ.

เฮย์ กรุ๊ป. (ม.ป.ป.). คุณลักษณะของผู้นำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในปี 2030. กรุงเทพฯ: เฮย์ กรุ๊ป.

Center for Creative Leadership. (2015). Future trends in leadership development. Retrieved from https://www.ccl.org/wp-content/uploads/2015/04/futureTrends.pdf.

Cohen, L, & Manion, L. (1989). Research method in education. 3rd ed. London: Routledge.

Institute for Corporate Productivity. (2014). Global leadership development: for Higher effectiveness in 2014. Retrieved from https://www.efmd.org/ blog/view/407-global-leadership-development-for-higher-effectiveness-in-2014.

International Institute for Management Development [IMD]. (2015). The world competitiveness yearbook 2015. Retrieved from https://stiic.sti.or.th/stat/ind-ct/ind-ct-t001/International.

Organization for Economic Co-operation and Development. (2001). Public sector leadership for the 21st century. Paris: OECD.

Petrie, N. (2011). Future trends in leadership development. Massachsetts: Center for Creative Leadership.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. 3rd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. 3rded. New York: Harper & Row Publishers.