ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธแบบยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นพวรรณ วิเศษสินธุ์
นงเยาว์ อุทุมพร
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
ธีรพงษ์ บุญรักษา

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธแบบยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมสมอง และกำหนดยุทธศาสตร์โดยวิธีการวิเคราะห์ TOWS Matrix


            ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธแบบยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเกิดความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสินค้า บริการ และปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบรวมกลุ่ม โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง และยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธ์ศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1-5 มีความสอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์ 5 ด้านของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559)


           The objective of this research is to study the strategies of sustainable Buddhist tourism in Pathum Thani province.  A qualitative method is used to collect information through in-depth interview, focus group, and brainstorming.  TOWS Matrix analysis is used to determine the strategies.


          The research results find that there are seven strategies used for sustainable Buddhist tourism in Pathum Thani province. The first strategy is to develop infrastructure and basic requirement of tourism. The second one is to develop and revive tourist spots interactively as learning sites for education in sustainable scheme. The third one is to develop typical products, services and supporting factors. The forth one is to maintain their confidences and supplement tourist activities. The fifth one is to encourage participation through public and private sectors. The sixth one is to imply people’s center into clusters of the tourist development. And the last one is to use public relations to boost Buddhist tourism. Five strategies, from the first to the fifth strategy are related to the strategy of national tourism development plan (B.E. 2555-2559).

Article Details

Section
Research Article

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ชมรมนักศึกษามหาวิทยาลัยมคธ. (2549). คู่มือ: เที่ยวถิ่นพุทธ. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมรักษ์การพิมพ์.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2558). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี (พ.ศ. 2557 - 2560) ฉบับทบทวน.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี 57. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.