การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

ธีรวดี ถังคบุตร

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต 2) สร้างและทดลองรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 23 คนเครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถามคุณลักษณะของผู้เรียนและสมรรถนะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตปริญญาบัณฑิต และแบบทดสอบวัดความคิดวิจารณญาณ แบบวัด Cornell Critical Thinking test, Level Z สถิติที่ใช้ในการวิจัย คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนจากแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนการทดลองกับหลังการทดลอง ด้วยค่าสถิติ t-test (Dependent Samples)


           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต การเรียนการสอนแบบผสมผสาน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนการสอนในห้องเรียน และการเรียนการสอนออนไลน์ ส่วนประกอบของการเรียนการสอนออนไลน์ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การทบทวนเนื้อหาในภาคปฏิบัติ การส่งงานที่ได้รับมอบหมายผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ การสอบภาคทฤษฎีผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ การแสดงข้อคิดเห็นหรือข้อสงสัยลงในกระดานสนทนา ผู้เรียนประชุมกลุ่มหรือทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันโดยใช้ห้องสนทนา ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ และผู้สอนตรวจสอบผลงาน และให้คะแนนผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 11 ขั้น

  2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิตหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

          This research was aimed to: 1) study the components of development of a model of blended learning using project-based learning to increase critical thinking ability for undergraduate students, and 2) research and develop a model of blended learning using project-based learning to increase critical thinking ability for undergraduate students. The sample was 23 undergraduate students in Chulalongkorn University.The instruments of this research included the questionnaires of the student’s characteristic, attitude and information and communication technology competency and The Level Z Cornell Critical Thinking Tests. The statistic and data analysis included mean, standard deviation, t-test for Dependent Samples.


The finding was as followers:


  1. The components of blended learning using project-based learning to increase critical thinking ability for undergraduate students were the blended learning composed of two models defined as: traditional classroom, and online learning; online learning method composed of eight components were review the practical content submit work that has been assigned via the learning management system test theory via learning management system comments or questions to the via learning management system group meetings or group activities together by using chat rooms via learning management system students ask problem to the instructor via learning management system students exchange their learning via learning management system instructor correct students work and scoring via learning management system ,project-based learning, and critical thinking process composed of 11 steps.

  2. The samples were taught by a model of blended learning using project-based learning to increase critical thinking ability for undergraduate students were higher than pretest score at .01 level of significance.

Article Details

Section
Research Article

References

กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการ สอนแบบร่วมมือในกลุ่มการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). แนวทางการนำมาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551-2565. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

Collis, B. & Moonen, J. (2001). Flexible learning in a digital world: Experiences and expectations. London: Kogan Page.

Driscoll, M. (2002). Blended Learning: Let's get beyond the hype. E-learning. 54.

Hargis, J. (2005). Collaboration, Community and Project-Based Learning - Does It Still Work Online?. Instructional Media. Vol. 32(2).

Thorne, K. (2003). Blended learning: how to integrate online & traditional learning. London: Kogan Page.