ความต้องการและความอยู่ดีมีสุขของพนักงานโรงงาน
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการ ระดับความอยู่ดีมีสุข และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความต้องการและระดับความอยู่ดีมีสุขของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี กำหนดขนาดตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 ตัวอย่าง และแบ่งตามสัดส่วนของประชากรแยกตามประเภทอุตสาหกรรม และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีความต้องการรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง พนักงานมีความอยู่ดีมีสุขรวมทุกด้านในระดับสูง ระดับความอยู่ดีมีสุขรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์กับระดับความต้องการรวมทุกด้านของพนักงาน ยกเว้นความอยู่ดีมีสุขด้านการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการรวมทุกด้าน
This study aimed to the level of need, the level of well-being and the relationship between the level of need and the level of well-being of factory workers at Pathum Thani Province. Questionnaires were used to collect information from workers in the industrial sector at Pathum Thani province. The sample size was calculated from the formula of Taro Yamane, the confidence level of 95% number 400 samples and divided by the proportion of the population classified by industry. And using simple random sampling. The study found that employees are needs to moderate. The staff are well-being high level. Level well-being is related to the needs level of employees. Except for level well-being about the environment have not a good relationship with the requirements of staff.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
วราวิทย์ คะษาวงศ์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สาสินี เทพสุวรรณ์. (2550). ดัชนีความอยู่ดีมีสุขมวลรวมของคนไทย. การประชุมทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1 การนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). องค์กรแห่งความสุข. (ระบบออนไลน์). https://www.happy8workplace.com 15 พฤษภาคม 2552.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด. (2558). รายงานการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. ปทุมธานี: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด.
Henry A.Murrey. (1938). Explorations in personality. New York: Oxford University Press.
McClelland. (1961). The Achieving Society. New York: Van Nostrand.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.