พฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จุฑาทิพย์ พรมวงศ์
อโณทัย งามวิชัยกิจ
ยุทธนา ธรรมเจริญ

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาของนักศึกษา 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษา 3)  ศึกษาปัจจัยจิตวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยจิตวิทยาที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ  นักศึกษาที่ใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบจำนวนของคอแครน ประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยละ 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานได้แก่ ไคสแควร์และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน      ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ศึกษาอยู่คณะนิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 พักอาศัยอยู่กับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง รายได้ของนักศึกษาเดือนละ 5,000–10,000 บาท 2)  พฤติกรรมการใช้บริการ ส่วนใหญ่นิยมใช้บริการคาราโอเกะ ในวันใดพรุ่งนี้ไม่มีเรียน ใช้บริการน้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือนและไปกับเพื่อน เฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 2-3 ชั่วโมง ตั้งแต่ 20.01-22.00 น. ใช้บริการเพื่อผ่อนคลาย และบรรยากาศของสถานบันเทิง 3) ปัจจัยจิตวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ ได้แก่ แรงจูงใจ นอกนั้นแสดงความคิดเห็นในระดับ ไม่แน่ใจ ได้แก่ ทัศนคติ การเรียนรู้ และการรับรู้ข่าวสาร 4) เพศ คณะวิชา ชั้นปีที่ศึกษา มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการ ส่วนคณะวิชาและชั้นปีที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่เริ่มใช้บริการและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านปัจจัยจิตวิทยา พบว่า ด้านแรงจูงใจ การรับรู้ข่าวสาร การเรียนรู้ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้บริการและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          This study employed the quantitative research methodology. The objectives of this research were: 1) to study the demographical factors affected consumer behavior for pub and night entertainment around campus of university students; 2) to study the consumer behavior for pub and night entertainment around campus of university students; 3)  to study the psychological factors affected consumer behavior for pub and night entertainment around campus of university students; 4) to study demographical factors and psychological factors correlating with the consumer behavior for pub and night entertainment around campus. Multi-stage random for selected samples had been used. The samples consisted of 400 university students; Kasetsart Univerity, Dhurakij Pundit University, Chandrakasem Rajabhat University and University of the Thai Chamber of Commerce. The statistics applied for data analysis included percentage, means, standard deviation, chi-square, and spearman correlation. The results showed that: 1) Demographical factors showed the most of respondents were male, live in Bangkok area with parents, and study in faculty of law, 1st year, the income 5,000-10,000 Baht per month. 2) The consumer behavior showed most of respondents like to visited karaoke. They went to pub when no classes tomorrow and the period of time were they liked to frequent most was between 20.01-22.00 p.m., at least less than one time per month. They went to pub with friends. Most reason of their visiting were for relaxing. Most influence for their visiting was good atmosphere. 3) Psychological factors affected consumer behavior for pub and  entertainment around campus of university students showed the overall level of review is unsteadily. 4) Compare the consumer behavior for pub and night entertainment around campus of university students with the psychological and demographical factors showed that frequency correlate with sex, faculty and year. Time and expense correlate with faculty and year with statistically significant differences of 0.05 levels. The psychological factors, motivation, perception, learning and attitude correlate with time and expense with statistically significant differences of 0.05 levels.

Article Details

Section
Research Article

References

กรรณิการ์ ภู่ประเสริฐ. (2538). จิตวิทยาผู้บริโภค. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กัญญากานต์ ทวีทิพย์รัตน์. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสถานบันเทิง กรณีศึกษา ผับ เจ อาร์ มิวสิคฮอลล์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขวัญชนก นันทไพบูลย์ และวิภวาณี แซ่พัว. (2550). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการเที่ยวสถานบันเทิงของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยนาม นักไร่. (2545). อิทธิพลของผับต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น : ศึกษากรณีวัยรุ่นที่เคยไปใช้บริการผับย่านถนนอาร์ ซี เอ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา มณีวงศ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเที่ยวสถานบันเทิงกลางคืนของนักศึกษาจังหวัดนครปฐม วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ตวิษา นาคะเวช. (2553). ความคุ้มค่าในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวกลางคืนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เขตทองหล่อ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนูศิลป์ ดวงแก้วงาม. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเที่ยวสถานบริการของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นิภาวรรณ คำแสน และรณฤทธิ์ แก้วรากมุข. (2558). พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี 7(1), 43-51.

พระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 (2547, 12 มกราคม ). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121, ตอน 6ก หน้า 1-9.

พิบูล ทีปะปาล. (2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

โมไนย แมนสรวงรัตน์. (2553). พฤติกรรมการเที่ยวผับของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ยงยุทธ ฟูพงศ์ศิริพันธ์. (2547). “การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย” แปลจาก Philip Kotler โดย ยุทธนา ธรรมเจริญ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2547). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ท้อป.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2553). รายงานสถานการณ์สุราประจำปี พ.ศ. 2553. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

สำนักข่าวไทย. (2557). ไทยดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับ 40 ของโลก–เหล้ากลั่นอันดับ 5 ของโลก. สืบค้นจาก https://www.mcot.net/site/content?id=4ff674dd0b01dabf3c03fbcc#.VzsHNZF97IU.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ปี 2557. สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=13207

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2533). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรณพ ชัยประเสริฐ. (2551). พฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อศัลยา คุ้มรักษ์. (2547). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Cochran, W.G. (1973). Sampling Techniques. 2nd ed. New York: John Wiley and Son, Inc.

Kotlet P., and Keller L. (2012). Marketing Management. 12th ed. Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

Schiffman, Leon G. and & Kanuk Leslie Lazar. (2000). Consumer Behavior – Psychology Aspects. New Jersey: Prentice Hall.

Tu, C.H., & McISaac, M. (2002). The Relationship of Social Presence and Interaction in Online Classes. American Journal of Distance Education. 16(3), 131-150.