การเตรียมความพร้อมก่อนการตัดสินใจนำระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กรมาใช้ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณชญาภัส รอดประยูร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ผลต่อการนำระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจ SMEs
โดยหาความเหมาะสมด้านการใช้งานระบบ และสร้างแนวทางสำหรับการตัดสินใจก่อนการลงทุนนำระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 ราย จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ใช้งานระบบ ERP ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว


          ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิต มีระยะเวลาการดำเนินธุรกิจน้อยกว่า 14 ปี มีจำนวนพนักงานต่ำกว่า 50 คน ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 7,500,001 บาท สำหรับการใช้งานระบบ ERP นั้นพบว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์การใช้งานและไม่มีความรู้ด้านระบบ ERP ในขณะที่ธุรกิจบางส่วนที่มีการนำระบบ ERP มาใช้จะทำการพัฒนาระบบ
ขึ้นใช้เอง โดยเลือกใช้โมดูลด้านการจัดจำหน่าย สำหรับด้านความสามารถในการบริหารจัดการและความพร้อมด้านการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านความสามารถของเจ้าของกิจการ โดยเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงความพร้อมด้านการใช้งานระบบทั้งหมด


The purposes of this study were to study the critical factors by applying ERP systems for SMEs, to study properly to use ERP systems, and to create the decision guideline before get the ERP systems into their business context in Bangkok. This study is a survey research. The samples are business owner or employee total of 450 people from multi-stage sampling to involve ERP systems by questionnaire. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and one way ANOVA.


            The results showed that mostly SMEs were business production, duration of business less than 14 years, having employee less than 50 people, and having income per year more than 7,500,001 Baht. For ERP systems in SMEs that mostly no experiences and do not have knowledge. While some businesses are adopting ERP systems that principally used for In-house development and select distribution module for operational process. Ability management and organizational readiness for ERP implementation were overall at moderate level. The importance of the ability management for owner managed businesses almost all businesses that is the first key readiness factor for implementation of ERP systems successful.

Article Details

Section
Research Article

References

ณชญาภัส รอดประยูร. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำระบบ ERP ไปใช้ในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 3. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
รภัสสิทธิ์ ชินภัทรจีรัสถ์. (2554). ปัจจัยสำคัญของความล้มเหลวในการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร. วารสารสารสนเทศศาสตร์. ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2554), 67 – 74.
วันวิภา คำมงคล, จุลสุชดา ศิริสม และเดช กาญจนางกูร. (2553). ผลกระทบของการสนับสนุนขององค์กรและประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบริหารทรัพยากรด้วยระบบ ERP ที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในระบบ ERP ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aisyah, M. N. (2011). Using Enterprise Resource Planning (ERP) for Enhancing Business Processes in Small and Medium Enterprises (SMEs). Journal Pendidikan Akuntansi Indonesia. Vol. IX No. 2. 40 – 52.
Banek, S. (2015). Recruitment Consultant specializing in the placement of designated accountants, supply chain and IT professionals. Part II - I Survived an ERP Implementation. Survey Results. Retrieved form https://www.linkedin.com/pulse/part-ii-i-survived-erp-implementation-survey-results-sally-banek.
David L. Olson. (2009). Managerial Issues of Enterprise Resource Planning Systems. McGraw-Hill Companies.