การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครูของนักศึกษาปริญญาตรี

Main Article Content

ศิริพล แสนบุญส่ง

Abstract

บทคัดย่อ


               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครู ของนักศึกษาปริญญาตรี  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความเหมาะสม และแบบวัดระดับความพึงพอใจของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.50) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.60) สามารถสรุปได้ว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น


 ABSTRACT


            The objectives of the research were to 1) develop and evaluate the flipped classroom using cloud technology in computer science for teacher course for undergraduate,
2) compare the academic achievement of students after learning with developed learning model and 3) study the satisfaction of students learning with developed learning model. The samples were 29 undergraduate students majoring in computer education, faculty of Education, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University who registered the computer science for teacher course in the first semester of 2016 academic year selected by simple random sampling. The research instruments were the learning plan of flipped classroom using cloud technology, achievement test, appropriated assessment form, and questionnaire of satisfaction. The statistic that used in research were the mean, standard deviation, and t-test.


          The results showed that: 1) The flipped classroom model using cloud technology was appropriateness at an excellent level. ( = 4.54, S.D. = 0.50), 2) The achievement of students after learning with developed learning model was higher than before learning  at the .05 level of significance, and 3) The students were satisfied with the developed learning model at a highest level. (= 4.54, S.D. = 0.60).
In conclusion, the developed learning model had influence undergraduate students achievement as well.

Article Details

Section
Research Article

References

กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี และเกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก. (2560). การพัฒนาคอร์สแวร์เพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัส ตามแนวคิด FLIPPED CLASSROOM เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(1), 111-122.
กุลชัย กุลตวนิช. (2557). ระบบการเรียนบนห้องเรียนเสมือนแบบคลาวด์ตามแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการรู้สารสนเทศ สำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณมน จีรังสุวรรณ และอนุชิต อนุพันธ์. (2557). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการความรู้ผ่านบริการซอฟต์แวร์บนคลาวด์คอมพิวติง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 5(2), 94-102.
ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี และลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 21103. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(4), 7-14.
นาวิน คงรักษา และพัลลพ พิริยะสุรวงศ์. (2556). การปริทัศน์ความรู้ผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 4(2), 141-147.
นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสร้างสรรค์ และความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(1), 55-67.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น. การพิมพ์.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: พี ที เอ เบสท์ซัพพลาย.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
ศิริพล แสนบุญส่ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยาครั้งที่ 7 (หน้า 75-80). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุพัตรา อุตมัง. (2558). แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน: ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 16(1), 51-58.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียน. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2. สืบค้นจาก http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf.
สุวณี อึ่งวรากร. (2558). ครู: อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2(1), 65-78.
อนุศร หงษ์ขุนทด และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2558). รูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการเรียนดนตรี . วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15(2), 119-129.
Aldakheel, E. A. (2011). A cloud computing framework for computer science education. (Doctoral dissertation, Bowling Green State University).
Behrend, T. S., Wiebe, E. N., London, J. E., & Johnson, E. C. (2011). Cloud computing adoption and usage in community colleges. Behaviour & Information Technology. 30(2), 231-240.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. International Society for Technology in Education.
Bora, U. J., & Ahmed, M. (2013). E-learning using cloud computing. International Journal of Science and Modern Engineering. 1(2), 9-12.
Denton, D. W. (2012). Enhancing instruction through constructivism, cooperative learning, and cloud computing. TechTrends. 56(4), 34-41.
Grace, T., & Mell, P. (2011). The NIST Definition of Cloud Computing: Recommendations of the National Institute of Standards and Technology. NIST Special Publication. (800-145), 800-145.
Oyelere, S. S., Paliktzoglou, V., & Suhonen, J. (2016). M-learning in Nigerian higher education: an experimental study with Edmodo. International Journal of Social Media and Interactive Learning Environments, 4(1), 43-62.
Roehl, A., Reddy, S. L., & Shannon, G. J. (2013). The flipped classroom: An opportunity to engage millennial students through active learning. Journal of Family and Consumer Sciences. 105(2), 44.
Kleftodimos, A., & Evangelidis, G. (2016). An interactive video-based learning environment supporting learning analytics: Insights obtained from analyzing learner activity data. In State-of-the-Art and Future Directions of Smart Learning. (pp. 471-481). Springer Singapore.
Mu, H., & Paparas, D. (2016). Ready for the Flipped Classroom? Preliminary Experiences of The New Approach in Teaching Economics to Non-Major Students. Applied Economics and Finance. 3(2), 45-53.
Lin, Y. T., Wen, M. L., Jou, M., & Wu, D. W. (2014). A cloud-based learning environment for developing student reflection abilities. Computers in Human Behavior. 32, 244-252.