ส่วนผสมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟในสาธารณรัฐสังคมเวียดนาม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟของผู้บริโภคชาวเวียดนาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการ ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นการเก็บข้อมูล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้นครโฮจิมินห์ เป็นตัวแทนของจังหวัดทั้งหมดในเวียดนาม
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นนักเรียนนักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะเข้าใช้บริการร้านกาแฟ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่เข้าใช้บริการในเวลา 18.01-21.00 น. มักเข้าใช้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งนิยมเข้าใช้บริการร้านกาแฟกับเพื่อน และมีเหตุผลในการใช้บริการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการประมาณ 21-100 บาท โดยส่วนใหญ่มักเลือกเครื่องดื่มเย็น โดยเมนูที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ คาปูชิโน่ และผู้ตอบแบบสอบถามมักมาใช้บริการกับเพื่อน และรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร้านกาแฟจากเพื่อนหรือคนรู้จัก
ผลการวิเคราะห์สถิติไคแสควร์เพื่อทดสอบสมมติฐาน และตอบสมมติฐานทางการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟของผู้บริโภคชาวเวียดนามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟของผู้บริโภคชาวเวียดนามสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดด้านกระบวนการการให้บริการ รองลงมาคือ ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดด้านพนักงานผู้ให้บริการ
ABSTRACT
This research aims 1) to examine the relationship between demographic characteristics and behavior of Vietnamese coffee shop consumers 2) to study the marketing mix that relates to behavior of Vietnamese coffee shop consumers. The 400 samples were collect data by questionnaires with multi-stage random sampling by cluster sampling. Ho Chi Minh City were represented all provinces in Vietnam.
The study indicated that Most of the respondents were women in the age range of 15-24 years old, also being students, with a monthly income of less than 5,000 baht. Most respondents went to the coffee shop 2-3 times a week. Most of them went for the service at 18.01-21.00 on Saturday - Sunday. They access to the popular coffee shop with a friend for leisure. Each time, the cost of the service is about 21-100 baht. Vietnamese coffee shop customers often order a cold drink. The menu has been the most popular is cappuccino. Moreover, respondents often come with their friends and get news and information about the cafe from friends or acquaintances.
The results of Chi-Square statistical analysis to test the hypothesis found that demographic characteristics and the coffee shop’s marketing mix is related to the behavior of Vietnamese coffee shop consumers statistically significant at the .05 level. The marketing mix that can affect the behavior of Vietnamese coffee shop consumers are process of serving and Café staffs.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
นิอร สิงหิรัญเรือง. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการบริหารจัดการร้านกาแฟสด ในเขตอำเภอนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิธว์สิริ ธเนศสกุลวัฒนา. (2552). วัฒนธรรมกาแฟ: ความหมายในสังคมบริโภคนิยมเวียดนาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพลิน บรรพโต. (2553). พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: คณะมุนษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ลัคนา ตรีวีรานุวัฒน์. (2554). การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการบริโคกาแฟของร้านกาแฟอเมซอนและร้านกาแฟอินทนินท์ กรณีศึกษาสถานีบริการน้ำมัน ปตท. หจก.ฐานิตปิโตรเลียมและสถานีบริการน้ำมันบางจาก พระราม 3. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมสกุล นิรันดรไชย. (2554). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านกาแฟคั่วบดแบบแสตนด์ อะโลน ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สิทธิพงษ์ ธนาโชติภูมินนท์. (2558). การค้าระหว่างประเทศไทย-เวียดนาม. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อริสรา วิริยะวารี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคและใช้บริการร้านกาแฟสด ในสถานีบริการน้ำมัน กรณีศึกษากาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
แอนด์ดรู เมอร์ฟี่ร์ และเบน เจนเนอร์. (2557). การขายอย่างเป็นธรรมด้วยการเพิ่มมูลค่าโดยขายกาแฟเป็นธรรมในร้านกาแฟ (วริศ ตันศรีรัตนวงศ์, แปล). กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์บุ๊คส์.