การศึกษาการปรับวัฒนธรรมองค์การเพื่อการดำรงอยู่ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา : การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้ความหมายต่อการดำรงอยู่ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาการให้ความหมายต่อการดำรงอยู่ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตามประสบการณ์ชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวและปรับวัฒนธรรมองค์การของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีการดำเนินการ ผู้วิจัยออกแบบการวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียนขนาดเล็กได้ 3 กรณีศึกษา จำนวน 5 โรงเรียน โดยพิจารณาโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษาจากความหลากหลายคือ ทำเลที่ตั้ง (ชุมชนเมือง/ชุมชนชนบท) และรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา (แบบปกติและแบบควบรวม) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการ/รักษาการ ข้าราชการครู กรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและศึกษานิเทศก์ จำนวน 35 คนจากทั้ง 3 กรณีศึกษา 5 โรงเรียน ดังกล่าว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโรงเรียนขนาดเล็กให้ความหมายต่อการ
ดำรงอยู่ในมุมมองคล้ายกัน คือ เป็นโรงเรียนที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชน แม้จะเป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนในทุกๆด้าน แต่ถ้าได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ปกครอง และบุคลากรทำงานด้วยความเสียสละ มุ่งมั่น โรงเรียนก็จะสามารถดำรงอยู่ได้ 2) ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางชุมชน วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง อัตราการเกิดน้อยลง การคมนาคมดีขึ้น โรงเรียนกลายเป็นโรงเรียนทางเลือกสำหรับผู้ปกครอง การที่โรงเรียนจะดำรงอยู่ได้จะต้องได้รับความเชื่อมั่นจากกลุ่มผู้ปกครองและมีเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชนและองค์กรภายนอก 3) กระบวนการปรับตัว การปรับตัวในทางสังคมเพื่อเข้ากับชุมชนและเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล มีผลมาจากการนำประสบการณ์ในการทำงานเดิมมาใช้ โดยบุคลากรแต่ละคนต้องรู้จักพื้นฐานของชุมชนและทำงานต้องทำงานด้วยความเสียสละ อุทิศตน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน ยืดหยุ่นตนเองได้ตามนโยบายที่เปลี่ยนแปลง ส่วนกระบวนการปรับวัฒนธรรมองค์การ หัวใจหลักอยู่ที่ภาวะผู้นำของโรงเรียน ผู้ที่เป็นผู้นำจะต้องรู้จักชุมชน รู้จักเพื่อนร่วมงาน เพื่อการบริหารโครงสร้างขององค์การและความร่วมมือกันที่ดีของทุกฝ่าย พฤติกรรมองค์การเพื่อการดำรงอยู่ของโรงเรียนจึงจะเกิดตามมา
ABSTRACT
The objectives of the study were 1) to find out the reasons for the existence of five small primary schools and the stakeholders of the school in Pra Nakhon Si Ayutthaya province; 2) to identify the purpose of small primary schools by experience with educational management of the small primary school's stakeholders in Pra Nakhon Si Ayutthaya province, and 3) To Identify process of adjustment and the cultural organization of a small primary school adaption in Pra Nakhon Si Ayutthaya province. With regard to the methods, this research designed using the qualitative approach of a Phenomenological study and used In-depth interviews. There were semi-structured questions with non-participant observations from the stakeholder of a small primary school. In case studies on the variety of locations and educational management patterns (normal and merger and acquisition). The researcher used case studies through purposeful sampling to choose three case study from five schools with two rules that are 1) location (country/countryside) 2) type of educational management (normal / merger and acquisition).The important resources consisted of the thirty-five people, including the school director, the school acting director, the teachers, the school board, students, the parents of students, and educational supervisors.
The findings showed that 1) The stakeholders of a small primary school justified the existence of small primary schools. The school was formed by community cooperation. Although the school may lack certain amenities, but it could co-exist with the trust of the parents and the selfless commitment of the staff; 2) The school became the choice of the parents because of variations in the social structure, changes in lifestyle a lower birth rate, better transport, so in order to exist a small primary school must have trust from parents and cooperative connections between home, temple, the school community and exterior organizations; 3) the adjustment process was effected by the work experiences of the staff, who must work with sacrifice, dedication, good interactions between coworkers, flexibility and following the changes in polities. The key to adjustment culture is leadership by knowing and knowledge of the community, coworkers, and work structure this may result in cooperation a many these groups.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ชัญญา พงษ์ชัย. (2554). ปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5(3), 31-41.
ไทยรัฐออนไลน์. (2555). ผลประเมินโรงเรียนรอบสามภาพรวมตกต่ำ เรียนเล็กอีสานไม่ผ่าน มาตรฐานอื้อ. ไทยรัฐ. 2555 กรกฎาคม 13.
ประเวศ วะสี. (2554). การประชุมเชิงปฏิบัติการณ์เรื่อง “ปัญหาและทางออก การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก 7,000 โรง”. หน้า 3-18
ศศิธร เวียงเหล็ก. (2542). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2557). โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและครอบครัว :ผลกระทบต่อสังคมไทยและทางเลือกเชิงนโยบาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2557, www.prct.ipsr.mahidol.ac.th/prct_db/A06_Distribution.aspx.
สเน่ห์ จามริก. (2549). เอกสารสรุปข้อเสนอแนะของกรรมการที่ปรึกษาในการปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา พุทธศักราช 2549. 4 เมษายน 2549 เวลา 11.00 – 12.15 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรุงเทพฯ: ถ่ายเอกสาร.
สุรสิทธิ์ แก้วใจ. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
สุวิทย์ ยอดสละ. (2554, 3 กันยายน–ธันวาคม). การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่ : ทางรอด
หรือทางเลือก. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(3), 19-22.สมศักดิ์ ก้างยาง. (2558). การบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 3(1), 325.
อภิชชยา บุญเจริญ. (2556). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้.สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์. (2554). จิตบำบัดแนวความหมายในชีวิต LOGOTHERAPY. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณีย์ ธโนศวรรย์. (2545). การศึกษาในระบบปฏิบัติการทางอำนาจผ่านความรู้และการสร้างความเป็นอื่นให้กับชุมชนหมู่บ้าน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (พัฒนศึกษาศาสตร์).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
Berecz, J.M. (2009). Theories of personality: a Zonal Perspective. Boston: PearsonAllyn & Bacon.
Cheng, Y.C. (1993). Profile of Organizational Culture and Effectiveness School. School Effectiveness and School Improvement, 4(2). Pp.85-110.
Owens, R.G., & Valesky, T.C. (2007). Organizational Behavior in Education: Adaptive Leadership and School Peform. 9th ed. Boston, MA: Pearson Education, Inc.
Piaget, J. (1971). The Biology of Knowledge. Chicago. IL: University of Chicago Press.
Ravasi, D. & Schultz, M. (2006). Responding to organizational identity threats: Exploring the role of organizational culture. Academy of Management Journal. 433-458.