องค์ประกอบการออกแบบสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

เลอลักษณ์ โอทกานนท์
อังคนา กรัณยาธิกุล
กันต์ฤทัย คลังพหล
ประพรรธน์ พละชีวะ
ดนุชา สลีวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการออกแบบสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการออกแบบสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามโมเดลสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ดังนี้ 1) การศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับองค์ประกอบการออกแบบสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบการออกแบบสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาภาษาอังกฤษ และสาขาวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย     ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา จำนวน 499 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง


              ผลการวิจัยพบว่า


            1) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้องค์ประกอบการออกแบบสื่อการสอนสำหรับนักศึกษา    ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 4 องค์ประกอบ คือ เนื้อหาของสื่อการสอน การสร้างและลักษณะสื่อการสอน คุณภาพของสื่อการสอน และการนำสื่อการสอนไปใช้ประโยชน์


            2) ผลการศึกษาเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการออกแบบสื่อการสอนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า การออกแบบสื่อการสอนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไคสแควร์ที่แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญ     ทางสถิติ ( = 1.49, df = 1, p = 0.22184) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.031 ผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ แสดงให้เห็นว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทุกตัวบ่งชี้มีค่าเป็นบวกและมีค่ามากกว่า 0.700 ทุกตัว โดยมีค่าระหว่าง 0.742 ถึง 0.871 ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านเนื้อหาของสื่อการสอน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.872 รองลงมาคือด้านการนำสื่อการสอนไปใช้ประโยชน์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.803 ด้านคุณภาพของสื่อการสอน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.769 ตามลำดับ และด้านการสร้างและลักษณะสื่อการสอน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.742 ซึ่งมีค่าน้ำหนักต่ำสุด


 


ABSTRACT


            The purposes of this research were to 1) study the instructional media design for the pre-service teachers and 2) analyze factor of instructional media design for the pre-service teachers according to hypothesis model with empirical data. Research methodology using mixed methods research combining qualitative and quantitative research; 1) qualitative research, with open-ended questions of the instructional media design for the pre-service teachers and data were analyzed by using focus group and content analysis. 2) quantitative research, with instructional media design for the pre-service teachers questionnaire. The samples were pre-service teachers in mathematics, early childhood, english and science subject in academic year of 2016 for the 5th year of Education faculty at Valaya Alongkorn Rajabhat University under the patronage which selected by purposive sampling.


            The result found that:


  1. The results of qualitative study found that there were 4 factors in instructional media design for the pre-service teachers; content of the learning materials, the use of learning materials, the quality of the learning materials, and the creating and learning styles of the learning materials.

  2. The results of confirmatory factor analysis of model in the instructional media design were found that model was fitted with empirical data, with chi-square goodness of fit test at 1.49 with 1 chi-Square/degrees of freedom; p-value = 0.22184; Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.031 which factor loading upper 0.700. The analysis of the factor loading composition showed that all factor loading of component was positive and greater than 0.700 for all the values between 0.742 to 0.871. In descending order according to factor loading as: the content of the learning materials with factor loading of 0.872, the use of learning materials with factor loading of 0.803, the quality of the learning materials with factor loading of 0.769, and the creating and learning styles of the learning materials with factor loading of 0.742.

Article Details

Section
Research Article

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดียโดยใช้สื่อการสอนเรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ อยู่ถาวร. (2549). ปัจจัยประกอบในการซื้อสื่อการสอนประเภทยางและฟองน้ำของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 12 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 45.
ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. (2559). คู่มือการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.
วิชาการ, กรม. (2544). คู่มือการผลิตสื่อ ระดับก่อนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
วิชาการ, กรม. (2544). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือพัฒนาสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2555). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา. (2555). นวัตกรรมแห่งการศึกษา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์.
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ผ่านการสื่อสารด้วยเว็บล็อก เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. สงขลา: การผลิตเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Dale, Edgar. (1969). Audio-visual Methods in Teaching. 3rd ed. New York: The Dryden Press.
Erickson, Carlton W.H. & Curl, David H. (1972). Fundamental of Teaching with Audio Visual Technology. New York: The Macmillan.