รูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก

Main Article Content

นิสสรณ์ บำเพ็ญ
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
ชไมพร ดิสถาพร
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้เป็นดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีกกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้แบ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของประชากรโดยการใช้แบบสอบถามที่สร้างจากศึกษาเอกสารและงานวิจัย จำนวน 108 คน กลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก ได้แก่ พนักงานระดับผู้บริหารสาขา โดยมีตำแหน่งดังนี้ ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก ของห้างเทสโก้ โลตัส ในเขต 9 จำนวน 43 คน โดยมีขั้นตอนการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 2 การทดลองกับกลุ่มเล็ก จำนวน10 คน ขั้นตอนที่ 3 ทำการทดลองภาคสนาม จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการค้าปลีก  จำนวน 30 คน โดยวิธีการจับฉลากซึ่งไม่ซ้ำกับกลุ่มที่ทำการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการหา t-test for dependent samples 


           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชื่อรูปแบบคือ CoMT Coaching Model มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. องค์ประกอบด้านกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมการ เนื้อหาและการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติ และการประเมินผล และ 2. องค์ประกอบด้านบทบาท ประกอบด้วย บทบาทผู้ประสานสัมพันธ์ (Coordinator) บทบาทผู้สร้างแรงจูงใจ (Motivator) และบทบาทผู้สอน/ผู้ถ่ายทอดความรู้ (Trainer)  2) ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.78/87.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 85/85  และ 3) ผลการหาประสิทธิผลรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจ ค้าปลีกสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < 0.05) ซึ่งแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85  3.2) ผู้เข้ารับการอบรมตามรูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีกมีระดับความพึงพอใจต่อ รูปแบบการสอนงานสำหรับผู้บริหารสายปฏิบัติการธุรกิจค้าปลีก โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.21)


 


ABSTRACT


           This research and development research was conducted to achieve the following objectives: 1) To develop model of coaching for executives in retail operation with the efficiency meeting the 85/85 criteria; 2) To determine the effectiveness of the model of coaching for executives in retail operation. The sample group recruited form the executives in retail operation of Tesco Lotus was divided into a sample group for studies about needs and problem made up of one handles and eight and used to determine the efficiency of the model of coaching for executives in retail operation forty one of executives in retail operation of Tesco Lotus. The experiment was divided into the following three steps: Step one involving the one-to-one method with the testing of three persons; Step two involving a small pilot group aimed at testing ten persons and Step three involved field testing aimed at testing thirty persons in order to determine the efficiency of the model of coaching for executives in retail operation. The sample group, used to for determine the effectiveness of the model of coaching for executives in retail operation with a total of thirty persons form Simple Random Sampling by labeling. The data was analyzed by determining percentage, mean and standard deviation. The pre-test and post-test learning outcomes were compared by a determining t-test for the dependent samples.


           The research findings can be summarized as follows: 1. The model of coaching for executives in retail operation is CoMT Coaching Model consisting of two elements including 1) Process Of Coaching (Prepare, Tell and Show, Practice, Test) and 2) Role Of Coach (Coordinator, Motivator, Trainer) 2. According to the findings, the efficiency of the model of coaching for executives in retail operation was 85.78/87.33, which was higher than the standard criteria of 85/85. 3. The findings on the effectiveness of the model of coaching for executives in retail operation were as follows:  3.1) The executive in retail operation who studied with model of coaching for executives in retail operation were found to be higher than the pre-test score with a statistical significance of .05 (p < 0.05) with post-test score. The test reliability is 0.85 and 3.2) The executive in retail operation who studied with model of coaching for executives in retail operation had a high level of satisfaction ( = 4.21).

Article Details

Section
Research Article

References

กฤตยา แดงสุวรรณ. (2558). การสอนงานพยาบาลใหม่ ความท้าทายของงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 35(2), 35-44.
งามรัตน์ มีจันที. (2559). รูปแบบการฝึกอบรมในงานด้วยเทคนิคการสอนงานเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัยที่ไม่มีวุฒิการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(2), 124-135.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพิน เรืองพิสิฐ. (2558). การพัฒนาระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์. 22(2), 122-139.
วิชิต สุรพนานนท์ชัย (2556). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนงานให้กับหัวหน้างานสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีระกาจ ดอกจันทร์. (2558). รูปแบบการพัฒนาผู้สอนงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 27(94), 79-81.
แทน โมราราย. (2558) หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนงานของครูฝึกในสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สมิต สัชฌุกร. (2547). เทคนิคการสอนงาน. กรุงเทพฯ: สายธาร.
อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. (2554). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์
Bennie, A. and O’Connor,D. (2011). An Effective Coaching Model: The Perception and strategies of professional team sport coach and players in Australia. International Journal of Sport and Health Science. 9, 98-104.
Hodge, Alison. (2016). The value of coaching supervision as a development process: Contribution to continued professional and personal wellbeing for executive Coaches. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring. 12(2), 87-106.
Linder, S. (2014). Steps towards the Benchmarking of Coaches’ Skills. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring. 12(1), 47-62.
McComb, C. (2013). Managing the Internal Labour Market in a Manufacturing Company: Explaining Coaching’s Perceived Ineffectiveness. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring. 11(1), 1-20.