การศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1: การประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่ม

Main Article Content

นารีรัตน์ พลแจ้ง
มนตา ตุลย์เมธาการ
จตุภูมิ เขตจัตุรัส

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษา โดยใช้โมเดลมูลค่าเพิ่ม การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 1,356 คน จากสถานศึกษา 40 แห่ง ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตัวแปรที่ศึกษามี 2 ระดับ ระดับนักเรียน และระดับสถานศึกษา โดยระดับนักเรียน ประกอบด้วย 1) เพศ 2) เศรษฐานะของครอบครัว 3) ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และ 4) ความรู้เดิมของนักเรียน ระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) พฤติกรรมการสอนของครู 2) สภาพแวดล้อมของโรงเรียน 3) ขนาดสถานศึกษา และ 4) ความเป็นผู้นำทางวิชาการ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกฉบับนักเรียนและฉบับสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสามารถด้านคำนวณ ปีการศึกษา 2555 และผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา รอบ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สามารถแบ่งสถานศึกษาได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสถานศึกษาที่มีคุณภาพ (คะแนนมูลค่าเพิ่มตั้งแต่ 0 ขึ้นไป) จำนวน 20 แห่ง คิดเป็น 50 % และกลุ่มสถานศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ (คะแนนมูลค่าเพิ่มน้อยกว่า 0 หรือติดลบ) จำนวน 20 แห่ง คิดเป็น 50 % ทั้งสองกลุ่มมีค่าความแปรปรวนเท่ากัน


ABSTRACT


            The objectives of this study were to investigate the quality of mathematics education management by using value-added model. This research used secondary data. The sample used in this study was grade 3 students under Loei Primary Educational Service Area Office 1 of the 1,356 people from 40 schools were randomly stratified. Variables studied are 2 levels of students and school. The students are 1) sex 2) socioeconomic status of the family (SES) 3) the educational level of parents (PARED) and 4) knowledge of students (PRIOMATH). The schools are 1) teaching behavior of teachers (TQUALITY) 2) school environment (CLIMATE) 3) the size of schools (SIZE) and 4)academic leadership (LEADER). The instruments a recorded version of the student and the school. The quality of basic education. The year 2555 can be calculated and evaluated for quality education around two statistics used for data analysis. Multilevel analysis the results showed that the quality of education in mathematics education. You can study the two groups, educational quality (the value 0 or greater) of 20 accounted for 50%, and the place of education, the quality (the value is less than 0 or negative) 20 accounted for 50 % of both groups have the same variance.

Article Details

Section
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา. 54(129), 3. สืบค้นจาก http://www.education.mju.ac.th/fileDownload/1410201514443.pdf.
ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2556). พัฒนาการด้านสติปัญญา: วัยประถมต้น (Primary school
children cognitive development) พัฒนาการของเด็กวัยประถมศึกษา. สืบค้นจาก http://taamkru.com/th/% 99/
เพ็ญภัคร พื้นผา. (2554). การพัฒนาโมเดลมูลค่าเพิ่มพหุระดับเพื่อการวัดประสิทธิพลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทวี รื่นจินดา. (2537). สถิติเศรษฐศาสตร์ ECONOMIC STATISTICS. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุชีรา มะหิเมือง. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ และการพัฒนาการทางวิชาการ: การ
วิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2556). คู่มือการจัดสอบ การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2553). การวิเคราะห์พหุระดับ: โปรแกรม HLM. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). การวิเคราะห์พหุระดับ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคนอื่น ๆ. (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ballou, D. (2012). Value – Added Assessment for Personnel Decision: How Omitted Variables and Model Specification Influence Teachers’ Outcomes. Education Finance and Policy Journal. 4(4), 351-383. Retrieved from http://www.aefpweb.org/sites/default/files/webform/AEFP-Using%20VAM%20for%20personnel%20decisions_02-29-12.pdf.
Braun, H. (2004). Using Student Progress to Evaluate Teachers: A Primer on Value-Added Models. New Jersey: Policy Information Center.
Manzi, J., Martin, E., & Bellegem, S. (2012). School System Evaluation by Value-Added Analysis under Endogeneity. Toulouse School of Economics. 10(185), 9-23. Retrieved from http://www.vanbellegem.org/research/pub/MSMVB.pdf.
Rubin, D., Stuart, E., & Zanutto, E. (2003). A Potential Outcomes View of Value-Added Assessment in Education. Educational and Behavioral Statistics Journal. 29(1), 103-116. Retrieved from http://www.cgp.upenn.edu/pdf/Rubin%20%20Potential%20Outcomes%20View%20of%20VAA%20In%20Education.pdf.
Wiley, E. (2006). A Practitioner’s Guide to Value Added Assessment. Colorado: The National Education Policy Center.