โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการความรู้การบริหารผลการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของธุรกิจ (อัญมณีและเครื่องประดับ) SMEs ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง
ธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร
กันต์ฤทัย คลังพหล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการจัดการความรู้ การบริหารผลการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพของธุรกิจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 957คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 620 คน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามการแบ่งชั้น 6 จังหวัดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผลการวิจัยพบว่า  1) องค์ประกอบการจัดการความรู้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p = 0.226) ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด คือ ปัจจัยด้านการสร้างความรู้ปัจจัยด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ทางความรู้ปัจจัยด้านการแสวงหาความรู้ปัจจัยด้านการจัดเก็บความรู้ และปัจจัยด้านการถ่ายโอนและใช้ประโยชน์จากความรู้โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.398, 0.383, 0.361, 0.281 และ 0.268 ตามลำดับ
2) องค์ประกอบการบริหารผลการปฏิบัติงานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p = 0.763) ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด คือปัจจัยด้านการพัฒนาการปฏิบัติงานปัจจัยด้านการติดตามผลการปฏิบัติงานปัจจัยด้านการวางแผนการปฏิบัติงานปัจจัยด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านข้อมูลป้อนกลับ/ให้รางวัล โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.385, 0.385, 0.311, 0.301 และ 0.228 ตามลำดับ 3) องค์ประกอบประสิทธิภาพสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p = 0.831) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด คือปัจจัยด้านคุณภาพการผลิตปัจจัยด้านทรัพยากรเกี่ยวกับการผลิต (วัตถุดิบ) ปัจจัยด้านการควบคุมการผลิต และปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.306, 0.253, 0.253 และ 0.159 ตามลำดับ


This study had objective to confirmatory factor analysis knowledge management, performance management, and business efficiency. The population of this research are 957 entrepreneurs of small and medium gem and jewelry enterprises in Bangkok and Metropolitan Region, 620 samples was selected and a proportional random sampling was used, based on the stratification of 6 provinces in Bangkok and Metropolitan Region. The results showed that: 1) Knowledge management factor consistent with empirical data (p-value = 0.226), which consists of 5 indicator include: knowledge creation, determining knowledge vision, knowledge acquisition, knowledge storage, and knowledge transfer which have factor loading of 0.398, 0.383, 0.361, 0.281, and 0.268 respectively. 2) Performance management factor consistent with empirical data (p-value = 0.763), which consists of 5 indicator include: improve operation performance, tracking performance, planning operation, evaluate performance, and feedback/reward which have factor loading of 0.385, 0.385, 0.311, 0.301, and 0.228 respectively. 3) Business efficiency factor consistent with empirical data (p-value = 0.831), which consists of 4 indicator include: quality of production, resource (raw material), production control, and human resource management which have factor loading of 0.306, 0.253, 0.253 and 0.159 respectively. All three models are consistent with empirical data.

Article Details

Section
Research Article

References

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2554). ผลกระทบของประสิทธิภาพธุรกิจแห่งนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.


ณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์. (2556). ปัญหาของ SME ไทย (1) และ (2). บทความ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม (BOC) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม). สืบค้นจาก https://boc.dip.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=314&Itemid=14.
ดุลย์ วันบุญกุล. (2554). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของดัชนีชี้วัดผลสำเร็จขององค์กรตามหลักการวัดผลการปฏิบัติงานเชิงดุลยภาพ กรณีศึกษาโรงงานฉีดพลาสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทับทิม วงศ์ประยูร. (2550). หลักเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: แม็ทส์ปอยท์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรลสถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปภพพล เติมธีรกิจ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดาเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่. กรุงเทพฯ: ส.ส.ท.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ. บทวิเคราะห์ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ. สืบค้นจากwww.kasikornbank.com/SME/Documents/KSMEAnalysis
/IndustrySolution_GemAndJewelry_2015.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2556). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปี 2556. บทสรุปผู้บริหาร ฉบับสมบูรณ์. สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/White%20Paper/2556/บทสรุปผู้บริหาร%20White%20Paper%20ปี%056%20สมบูรณ์.pdf.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2558). ประวัติสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.).
สุทธิ สินทอง. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในกระบวนการผลิตสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Hair,F. J., Black, C.W. & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition. Pearson.
Ishikawa, K. (1968). Guide to Quality Control. Tokyo: JUSE.
Joreskog, K. G., and Sorbom, D. (1996). LISREL8user'sreferenceguide. Chicago,IL: Scientific Software International.
Marquardt, M. (1996). Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill.
Spender, J. C. (1996). Making Knowledge the Basis of a Dynamic Theory of the Firm. Strategic Management Journal. 17(2), 45-62.
Werner, Jon M. and DeSimone, Randy L. (2006). Human Resource Development. 4th ed. Fort Worth: Dryden Press.
Williams, A. (1998). Organization Learning and the role of attitude surveys. Human Resource Management Journal. November 8(4).