โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ฐิติมา เกษมสุข
ธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร
กันต์ฤทัย คลังพหล

Abstract

                                                                                                                                                         บทคัดย่อ


               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการที่มีสถานะเป็นเจ้าของกิจการที่ขึ้นทะเบียนกับด่านศุลกากร จังหวัดสระแก้ว จำนวน 640 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของกลุ่มสินค้าหลัก 6 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และใช้โปรแกรมลิสเรลสำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยดำเนินการ 2) ด้านความต้องการของตลาด 3) ด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน และ 4) ด้านกลยุทธ์องค์กรโดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.993, 0.969, 0.903 และ 0.828 ตามลำดับและเมื่อพิจารณาความสอดคล้องของข้อมูลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่ามีความสอดคล้องกันโดยมีค่าไค-สแคว์เท่ากับ 105.05, P-Value เท่ากับ 0.052, GFI เท่ากับ 0.980, AGFI เท่ากับ 0.971, RMR เท่ากับ 0.008 และ RMSEA เท่ากับ 0.020


                                                                                                                                                                              ABSTRACT


            The purpose of this research was to analyze second order confirmatory factor of competitive advantage of Thailand-Cambodia border trade operators Aranyaprathet, Sa Kaew province. The sample used in this study are 640 enterprises, which stratified random sampling based on the proportion of 6 type of products group. The questionnaires was tools in this research and using Lisrel program to compute second order confirmatory factor analysis. The results showed that: the second order confirmatory factor analysis of competitive advantage of Thailand - Cambodia border trade operators Aranyaprathet, Sa Kaew province consists of 4 factor: 1) Aspect of action, 2) Market demand, 3) Related industrial and support, and 4) The corporate strategy, which have factor loading of 0.993, 0.969, 0.903 and 0.828 respectively. The model was consistent with empirical data, with chi – square equals to 105.05, P-Value equal to 0.052, and Indicators GFI, AGFI, RMR and RMSEA were 0.980, 0.971, 0.008 and 0.020 respectively.

Article Details

Section
Research Article

References

ดรรชนี ปารมี. (2550). ผลกระทบการค้าชายแดนไทย-จีน (ตอนใต้) ที่มีผลต่อผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้า กรณีศึกษา : อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ด่านศุลกากรอรัญประเทศ. (2558). มูลค่านำเข้า-ส่งออก กัมพูชา-ไทยผ่านจุดผ่านแดนถาวรด่านคลองลึก-ด่านปอยเปต. สืบค้นจาก. http://www.arancustoms.org
ธานัญญารัชต์ ลั้วสมบูรณ์. (2551). นโยบายและมาตรการของรัฐบาลไทยในการจัดการการค้าชายแดน: กรณีศึกษา ด่านศุลกากรเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นงลักษณ์วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรลสถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพรัตน์วงศ์วิทยาพาณิชย์, จิตรา โรจน์ประเสริฐกูล และเสริมสิทธิ์ สร้อยสอดศรี. (2554). โครงการ การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย กรณีศึกษาตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ประชาชาติธุรกิจ. (2558). 5 ปี “ไทย” ตามหลังอาเซียน หนุนเร่งเจรจาลดภาษี-ขยายฐานผลิต 5 กลุ่มดาวรุ่ง. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 21 เมษายน 2558. สืบจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429590148
ปราณี ตปนียวรวงศ์. (2552). โมเดลการวิเคราะห์ปัจจัยความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกรองเท้าของไทย. ดุษฎีนิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พินพนา ติ๊บพรม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนบริเวณตลาดดอยเวา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พิมสิริ พิชวงค์. (2553). โครงสร้างและรูปแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและลาวในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มธุรดา สมัยกุล. (2557). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1), 22-30
ศูนย์ข้อมูลการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. (2558). สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทย ปี 2555 - 2558 (มกราคม - พฤษภาคม) - รายการสินค้าส่งออก-นำเข้าชายแดนไทยไปประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา ปี 2558 (มกราคม-พฤษภาคม). กรุงเทพฯ: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.
เศวตยนต์ ศรีสมุทร. (2546). นโยบายรัฐไทยกับการค้าชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สายฝน แหล่งหล้า และกลุ่มนักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสระแก้ว. (2557). การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว. สระแก้ว: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสระแก้ว.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนหมูแส สาธารณรัฐแหงสหภาพเมียนมาร์ฟ และเขตเศรษฐกิจชายแดน
รุ่ยลี่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 15 - 19 มีนาคม 2557. รายงานสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่. สืบค้นจากhttp://www.nesdb.go.th/nesdb_th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2641
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองเศรษฐกิจชายแดน เพื่อเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน กรณีบริหารจัดการเมืองใหม่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. ในการประชุมสัมมนา วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557. ศรีสะเกษ: โรงแรมศรีลำดวน
อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ.
Angeles, V. M. (2015). U.S.-Mexico Economic Relations: Trends, Issues, and Implications. Congressional Research Service.
Asia-Pacific Economic Cooperation. (2008). Opportunities and Challenges for Foreign Investment in the APEC Region. Human Resources Development Working Group, Singapore.
Asian Migrant Centre. (2013). Migration in The Greater Mekong Subregion In-depth Study: Border Economic Zones and Migration. Mekong Migration Network (MMN) and Asian Migrant Centre (AMC), Thailand. Fourth edition. pp, 210-212.
Hair, F. J., Black, C.W. and Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis, 7th Edition. Pearson.
Joreskog, K. G. and Sorbom, D. (1996). LISREL8 user's reference guide. Chicago. IL: Scientific Software International.
Malini L Tantri. (2011). Trajectories of China’s Integration with the World Economy through SEZs: AStudy on Shenzhen SEZ. The Institute for Social and Economic Change, Bangalore.
Prabir De and Manab Majumdar. (2014). Developing Cross-Border Production Networks between North Eastern Region of India, Bangladesh and Myanmar: A Preliminary Assessment. Asia: Research and Information System for Developing Countries.
Qianlong Bie, Cansong Li and Shangyi Zhou. (2014). Evaluation of the Effectiveness
of Border Policies in Dehong Prefecture of Yunnan, China. Sustainability
2014(6), 5284-5299.