“เมืองน่าอยู่”: แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาชุมชนหลักหก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
Abstract
เมืองน่าอยู่ เป็นแนวคิดเพื่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชนตำบลหลักหก เป็นการศึกษา และพัฒนากระบวนการจัดการปัญหาบนพื้นฐานปรัชญา แนวคิด และหลักการของ “เมืองน่าอยู่” เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาในพื้นที่ศึกษา คือ พื้นที่ชุมชนในตำบลหลักหก การศึกษาประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ 1)วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของชุมชน 2) การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมแก้ การจัดการดูแลรักษาสภาพลำคลองในศักยภาพของชุมชน 3)พัฒนากิจกรรมนำร่องด้านการจัดการน้ำเสียโดยศักยภาพ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรวิชาชีพในพื้นที่ยังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้น ยังต้องการสนับสนุนความต่อเนื่อง รวมทั้งการผลักดันให้มีนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพยังต้องเป็นประเด็นร่วมผลักดันของพื้นที่ เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนในการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพต่อไป
“Healthy City”: case study from Lhak Hok subdistrict in order to find an approach to community develop, is a study for developing the process to resolve the problem based on philosophies, concepts and principle of Healthy City. The focus of this research consists of 3 processes; 1) The study and analysis about the situation of requirements problem in the community, 2) Develop the participation processes for thinking and problem resolving by using the collected data and 3) Develop the pilot activities in order to resolve the problems with the community which are resolving the wastewater problem by using local knowledge. The research result shows that both community participation and intersectoral action from the government, individuals and professional organization are still in the initial state. They will need the continuous support in this kind project. And also, to sustain the development process in the area, we need to push the healthy-public policy in order to build the environment that helps the people to increase the capabilities to increase the living quality.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ขนิษฐา กาญจนสินนท์. (2536). โครงสร้างและการเข้าถึงเครือข่ายเศรษฐกิจนอกระบบในชนบท. วิทยานิพนธ์พัฒนาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร. (2540). แนวคิดและหลักการดำเนินงานเมืองน่าอยู่. กรุงเทพ ฯ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ประสิทธิ์ สัจจพงษ์. (ม.ป.ป.). “ศูนย์สุขภาพชุมชนกับการส่งเสริมสุขภาพ : ตอนที่1”. สืบค้นจาก : http://advisor.anamai.moph.go.th/254/25407.html.
สุภางค์ จันทวานิช. (2531). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่. สืบค้นจาก : http://www.nesdb.go.th/Interestingmenu/City/rightbar new.html.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2540). "เมืองน่าอยู่" ในมุมมองของกรมอนามัย. สืบค้นจาก : http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=cities01.
Tsouros, (1995). Healthy Cities Project : A Project Becomes a Movement. Copenhagen: FADL., Publisher.