การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Main Article Content

อัมพร ศรีประเสริฐสุข
พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์
พรเพ็ญ ไตรพงษ์
ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล

Abstract

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการสอนในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษาที่ 2557 ซึ่งประกอบไปด้วยคณะครุศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนการเรือน และโรงเรียนการท่องเที่ยวและบริการ  โดยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน และกลุ่มตัวอย่างใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสายวิชาการซึ่งเป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test และ One-way ANOVA


ผลการวิจัยมีดังนี้ คือระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสายวิชาการ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.35, S.D. = 0.59) และเมื่อดำเนินการทดสอบสมมติฐาน ได้ผลการวิจัยดังนี้


  1. บุคลากรสายวิชาการที่มีเพศ อายุ คณะที่สังกัด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  2. บุคลากรสายวิชาการที่มีระดับการศึกษา สถานภาพการจ้าง ตำแหน่งทางวิชาการ จำนวนชั่วโมงสอน แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 


ABSTRACT


         The purpose of this research was to study 1) To study quality of work life for lecturer in Suan Dusit University and 2) To compare quality of work life for lecturer in Suan Dusit University with personal factors and performance factors. The populations in this research were lecturers in Suan Dusit University who perform teaching in Bachelor degree level in academic years 2014, which include Faculty of Education, Nursing, Business Administration, Humanities and Social Sciences, Science and Technology, School of Culinary Arts and School of Tourism and Hospitality Management. The samples were 260 lecturers and 10 samples for in depth interviews. The research instrument were Questionnaire about quality of work life which developed for this research and interview form which analyzed data by descriptive statistics included Mean standard deviation and percentage and inferential statistics included t-test, F-test.


From the study, the overall level of quality of work life of samples were in medium levels (gif.latex?\bar{X}= 3.35, S.D. = 0.59) and the result of hypothesis testing were as follows:


  1. Lecturers with different gender, age, faculty and income per month haddifference quality of work life with a statistical significance level at .05.

  1. Lecturers with different education levels, working status, academic positionand working hours  had no difference quality of work life.

Article Details

Section
Research Article