สภาพและปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาของการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกเป็น 2 ขนาด เป็นตัวกำหนดในการแบ่งกลุ่มย่อย ได้แก่ 1) โรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 300 คน 2) โรงเรียนขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียนเกินกว่า 300 คน ขึ้นไป การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครชี และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เทียบสัดส่วน จำแนกตำแหน่งหน้าที่ และขนาดของโรงเรียน แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.898 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติทดสอบที สถิติทดสอบที แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการกำหนดรูปแบบรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะ และจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการจัดหาพัสดุ ส่วนปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการกำหนดรูปแบบรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการควบคุมบำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นสภาพการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ยกเว้นการจัดหาพัสดุมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านพบว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นไม่แตกต่าง
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to study the current state and problems of material and asset management of the schools under Loei primary Educational Service Area Office 2, and 2) to compare the current state and problems of material and asset management of the schools under Loei primary Educational Service Area Office 2. The sample group studies used in this study were 1) a small school of less than 300 people and 2) The school has a large number of students more than 300 people. This research study determined the sample using tables krejcie and Morgan a sample of 310 people by stratified random sampling by position and the size of the school. Then simple random by drawing lots. The instrument used for data collection. A questionnaire was data analyzed. The IOC has ranged from 0.60 to 1.00, the reliability was 0.898. Data were analyzed using computer software. The statistics used for data analyze were frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent.
The results were as follows:
1) The overall as well as by aspect of the state of the material and asset management was obviously found at a high level. The highest mean found was the school’s material and asset database preparation then followed by the specification determination and procurement but the aspect of supply acquisition was found at the lowest mean. But the problem of the material and asset management of the schools was found in overall as well as by aspect at a high level. The highest mean clearly found was the school’s material and asset database preparation. It was followed by the specification determination and procurement whilst the lowest mean was the controlling, maintenance and distribution of supplies.
2) The comparison between the state and problem of the material and asset management of the schools classified by the positions, the result showed that the principals and teachers have different opinions about the problem with the statistical significance at .01 level. But The comparison between the respondents’ opinions about the state and problem of the material and asset management classified by school sizes, it was revealed that the principals and teachers’ opinions about the state were different in overall and by aspect with the statistical significance at .01 level but their opinions about the problem of the material and asset management was indifferent.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา