กลยุทธ์การสื่อสารและเครือข่ายวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

ละเอียด ขจรภัย

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วม อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายการสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วม อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ขอบเขตการวิจัยคณะผู้วิจัยศึกษาเฉพาะชาวไทยพวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหินปัก ตำบลบ้านทราย และตำบลโพนทอง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสังเกต แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  แบบสนทนากลุ่มย่อย และเวทีประชาคม ซึ่งทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (IOC) มีค่าเท่ากับ 0.6-1.0 และทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ มีค่าเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสัมพันธ์  เชิงพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=3.36, S.D.=0.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า สารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือผู้รับสาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือช่องทางสาร

  2. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเครือข่ายการสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}= 3.16, S.D. = 0.87) แบบวงล้อ (Wheel Network) เมื่อพิจารณาเป็นแบบเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่าเครือข่ายการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบมีศูนย์กลาง และรองลงมา คือ แบบกระจายอำนาจ

  3. การสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับวัฒนธรรมไทยพวนด้านภาษาและการแสดงพื้นบ้านโดยค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) มีค่าเท่ากับ 0.780 และค่าสัมประสิทธิ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.609 และมีความแปรปรวนของตัว 60.90 %  ส่วนการสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลยุทธ์การสื่อสาร โดยค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) มีค่าเท่ากับ 0.851 และค่าสัมประสิทธิ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.729 และมีความแปรปรวนของตัวแปร 85.10 % และการสื่อสารวัฒนธรรมไทยพวนแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเครือข่ายการสื่อสาร โดย    ค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) มีค่าเท่ากับ 0.830 และค่าสัมประสิทธิ์ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.690 และมีความแปรปรวนของตัวแปรตามได้ 69.00 %

 


ABSTRACT


            The research were mixed method research with the objectives as followed 1) to study the communication strategies of Thai Puan culture participatory, 2) to study Thai Puan culture participatory network, and 3) to study the factors affected the communication of Thai Puan culture participatory in Amphor Baanmi, Lopburi Province The scope of research, the researchers focused on Thai Puan people who lived in Tambol Hinpak, Tambol Bansai, and Tambol Ponethong with the population of 387 people. The methodology of research were Observation, Questionnaires, In-depth interview, Focus group discussion, and Civil Society Forum by having IOC at 0.6-1.0, reliability at 0.97. Moreover, the statistics analysis were employed in types of Percentage, Frequency, Mean, Standard deviation, and Multiple Regression with the result as followed:  


  1. Besides, the attitudes of people towards communication strategies of Thai Puan culture were in medium level (gif.latex?\bar{X} = 3.36, S.D. = 0.86) considering from high to low level of mean  message and receiver, respectively.

  2. The communication network of Thai Puan culture participatory in Amphor Baanmi, Lopburi Province was in medium level ( gif.latex?\bar{X} = 3.16, S.D. = 0.87) as wheel network, considering from high to low level of mean which were central participatory network, and decentralized network, respectively.

  3. The communication of Thai Puan culture participatory had positive relationship with Thai Puan culture in terms of language and folk performance with R level at 0.780, R2 at 0.609, and variation level at 60.90 %. Moreover, the communication of Thai Puan culture participatory had the positive relationship with the communication strategies with R at 0.851, R2 at 0.729, and variation level at 58.10%. Furthermore, the communication of Thai Puan culture participatory had positive relationship with communication network by having R at 0.830, R2 at 0.690, at variation level at 69.00%.

Article Details

Section
Research Article