โมเดลสมการโครงสร้างความตั้งใจคงอยู่ในงานพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

ธเนศ ปทุมานนท์
สุชนนี เมธิโยธิน
บรรพรต วิรุณราช

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจคงอยู่ในงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพและเพื่อทดสอบแบบจำลองเชิงสาเหตุความตั้งใจคงอยู่ในงานโดยมีการรับรู้การสนับสนุนองค์กรเป็นตัวแปรแฝงภายนอกมีความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวแปรสื่อตัวอย่างการวิจัย ได้แก่พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 1,197 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากโรงพยาบาลศูนย์ตามพื้นที่5ภาคของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตรวัดชนิดประเมินค่า  5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


            ผลการวิจัยหลักพบว่า


            1)  พยาบาลวิชาชีพมีความตั้งใจคงอยู่ในงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และความพึงพอใจในงานในระดับปานกลางมีความผูกพันต่อองค์กรในระดับมาก


            2)  แบบจำลองสมการโครงสร้างความตั้งใจคงอยู่ในงานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?\chi2= 103.899, p-value= 0.118, Chi-Square/Degree of Freedom (CMIN/DF) = 1.181, GFI=0.99, NFI =0.99, RFI=0.98, IFI=0.99, TLI=0.99, CFI= 0.99, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.012, RMR = 0.009)


            3)  ผลการทดสอบเส้นทางอิทธิพลพบว่าปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลรวมต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.66 ลำดับสองคือการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรมีค่าอิทธิพลรวม 0.48 ส่วนความพึงพอใจในงานไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานโดยมีค่าอิทธิพลรวม 0.12 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวแปรสื่อ (Mediator) ความสัมพันธ์ระว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ทั้งสามปัจจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 40 (R2=.40)


 


ABSTRACT


            The purposes of this study were to investigating the levels of intention to stay, perceived organizational support and organizational commitment and to examine the causal relationship model of intention to stay through perceived organizational support as exogenous variable job-satisfaction and organizational commitment as mediators variables. The samples consist of 1,197 professional nurses from Regional Hospital Operated by Ministry of Public Health, Office of The Permanent Secretary. Questionnaires with 5-level rating scale was employed as the research instrument. Descriptive statistics, confirmatory factor analysis and structural equation modeling were generated using statistical package.


            The major results indicated that:


  1. Professional nurses had level of intention to stay, perceived organizational support and job satisfaction in the moderate level and had level of organizational commitment in the height level.

  2. The structural equation model of intention to stay was supported By the empirical data. (gif.latex?\chi2= 103.89, p-value = 0.118, Chi-Square/Degree of Freedom (CMIN/DF) = 1.18, GFI = 0.99, NFI =0.99, RFI = 0.98 IFI=0.99, TLI = 0.99, CFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.012, RMR = 0.009)

  3. The factor on organizational commitment had the highest total influence of 0.66 on intention to stay. The factor on Perceived organizational support had the second highest total influence of 0.48 on intention to stay. The factor on job satisfaction had total influence of 0.12 on intention to stay no significantly (p>.05). Job satisfaction and organizational commitment had mediating affects on the relationship between perceived organizational support and intention to stay. Altogether the 3 factors, which are the causes, were explained the 40 variance of intention to stay of professional nurses.

Article Details

Section
Research Article