กลยุทธ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ

Main Article Content

ทรงชัย โอฬาริกพงศ์
มนูญ ศิวารมย์
รัชนิวรรณ อนุตระกูลชัย

Abstract

บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) นำเสนอกลยุทธ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนในเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 315  คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified) และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1  โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมมีความประสงค์ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1  พบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการสร้างความร่วมมือ ประสานงานเครือข่าย  รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการภายใน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ตามลำดับ

  2. กลยุทธ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์  คือ 1) กลยุทธ์การเสริมสร้างและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด  2) กลยุทธ์ปฏิรูปการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างความคุ้มค่า ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด  3) กลยุทธ์การพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แก่บุคลากร ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด  และ 4) กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก  ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด

                   


ABSTRACT


           The objectives of the research were: 1) to study the current situation and the desirable status of management of information and communications technology (ICT) in the Basic Education Institutes under the Office of Khonkaen Primary Educational services Area 1 and 2 ) to provide the strategies for the management of the ICT in the Basic Education Institutes under the aforesaid office. The samples taken for the present study were the school administrators and teaching staff in the primary schools under the office of the above-mentioned Basic Education Institutes with the total number of 315 respondents by multi-stage random sampling. The research tool were the depth interviewing and the rating scale questionnaires with the Index of Item-Objective Congruence (IOC) between 0.80-1.00 and the reliability coefficient at 0.98, by analyzing the Modified Priority Needs Index (PNIModified) and Confirmatory Factor Analysis.


           The  research findings were as follows:


  1. As regards the current situation of the management of  information  and  communications technology (ICT) in the Basic Education Institutes under the Office of Khonkaen Primary Educational services Area 1 was on the whole ranked at the high level of practice. Meanwhile the aspect of the desirable status of the management of the ICT in the Basic Education Institutes under the aforesaid office was on the whole ranked at the highest level of it. When the need for the management of the ICT in the Basic Education Institutes under the aforesaid office was taken into consideration it stood to the fact of cooperation networks, and the second types were the internal management, the infrastructure and the personnel development respectively.

  2. As regards the strategies for the management of the ICT in the Basic Education Institutes under the above mentioned they were of four strategies:          1) the strategy in enhancement and maintenance of the ICT infrastructure with effectiveness and stability, consisting of six indicators  2) the strategy in reforming the management of the ICT as to reduce the cost with six indicators 3) the strategy for developing a body of knowledge and the skills in respect of information technology for the staff, consisting of five indicators and 4) the strategy for building cooperation networks both internal and external, consisting of six indicators.

Article Details

Section
Research Article