การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ผู้วิจัยใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.80/83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
- ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7099
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to develop group cooperative learning activities Area of Occupations and Technology in Mathayomsuksa 1 to have the efficiency as the 80/80 criterion, 2) to measure the effectiveness Index of group cooperative learning activities, and 3) to study the student’s satisfaction with learning by using group cooperative learning activities. The sample that was used in this research consisted of 40 students in Mathayomsuksa 1 Pratai School Pratai District Nakhon Ratchasima Province in the first semester of 2014 by using Cluster Random Sampling. The tools used consisted of 1) 5 groups cooperative learning activities. 2) 5 cooperative learning lesson plans. 3) Achievement Test 4) satisfaction questionnaire of students with group cooperative learning activities. The data were analyzed by the use of percentage, means, standard deviation and effectiveness Index.
Result of the study indicated that:
- The efficiency of group cooperative learning activities of Learning Area of Occupations and Technology in Mathayomsuksa 1 is 85.80/83.25 that is higher than the setted criterion of 80/80.
- Effectiveness Index of group cooperative learning activities of Learning Area of Occupations and Technology in Mathayomsuksa 1 is 0.7099.
- Satisfaction questionnaire's students with group cooperative learning activities is the most satisfactory level.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา