การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ณิชากร นิธิวุฒิภาคย์
วาโร เพ็งสวัสดิ์
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติและความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัย เป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนละ 1 คน จำนวน 212 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตร โดยจัดทำโครงร่างหลักสูตรและประเมินโครงร่างของหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน  ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรกลุ่มทดลองคือครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา จำนวน 32 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ ร้อยละ 15 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม ก่อนการฝึกอบรม ระหว่างการฝึกอบรม และภายหลังการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบวัดทักษะด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  แบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและแบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรการฝึกอบรม และระยะที่ 5 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. หลักสูตรการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 5 หน่วย ซึ่งครูผู้เข้าอบรมโดยรวมมีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับโครงงานและโครงงานภาษาอังกฤษ หน่วยที่ 2 การเลือกหัวข้อเรื่องและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง หน่วยที่ 3 การเขียนเค้าโครงของโครงงานภาษาอังกฤษ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานโครงงานภาษาอังกฤษและการเขียนรายงานโครงงานภาษาอังกฤษ หน่วยที่ 5 การนำเสนอผลงานและจัดแสดงโครงงานภาษาอังกฤษ ผลการประเมินความเหมาะสมของร่างหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ร่างหลักสูตรฝึกอบรม มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.8–1.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

  2. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังได้รับ การฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการจัดการเรียนรู้ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.71 คะแนน จากคะแนนเต็ม 48 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 97.31 ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติระหว่างก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. ค่าเฉลี่ยเจตคติหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.34, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ด้านการดำเนินการฝึกอบรม และด้านความสามารถของวิทยากร (gif.latex?\bar{X} = 4.38, S.D. = 0.49, gif.latex?\bar{X}= 4.36,  S.D. = 0.51, gif.latex?\bar{X}= 4.31, S.D. = 0.48) ตามลำดับ หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประสิทธิภาพ 81.81/88.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

ABSTRACT


          This study aimed to develop of training curriculum on project-based learning, to evaluate the results and to study the attitudes and satisfaction from the implementation of the developed project-based learning training curriculum of primary-level English teachers under the Office of the Basic Education Commission. The study was conducted in 5 phases. The first phase was the study of basic information by surveying the need for the training curriculum from 212 English teachers under Buengkan Primary Educational Service Area by purposive sampling, The first semester of the year 2558, as well as studying relevant documents, concepts, theories and researches. The second phase was the construction of the curriculum by drafting the training curriculum and the assessment of the drafted curriculum by 9 experts. The third phase was the implementation of the training curriculum by using one group pretest-posttest design with 32 teachers. The size of the sample using a threshold of 15 percent using a simple random sample. The fourth phase was the evaluation of the developed curriculum by evaluating the results before, during and after the training. The Research Instruments were project work’s knowledge test, project work’s skill test, project work’s attitude test and a satisfaction training courses  The fifth phase was the improvement of the training curriculum. Statistics used in data analysis were mean and standard deviation (S.D.). Data analysis was done with computer software.


            The study results could be concluded as follows:


  1. Project-based learning training curriculum of primary-level English teachers under the Office of the Basic Education Commission could be divided into 5 units that most participants wanted to improve at a high level, which were: Unit 1: Introduction on Projects and English Projects; Unit 2: Choosing a Subject and A Study of Relevant Documents; Unit 3: Writing an English Project Draft; Unit 4: English Project Operation and Writing an English Project Report; Unit 5: English Project Presentation and Exhibition. The overall suitability evaluation of the training curriculum draft was at the highest level with IOC value between 0.8 - 1.00, which was in accordance with the set criteria.

  2. The efficiency of the project-based learning training curriculum of primary-level English teachers under the Office of the Basic Education Commission was that there was a difference in the participants' understanding between before and after the training at a statistically significant level of .01, with the higher mean after training than before training. The mean score of participants' skill in learning instruction was 46.71 out of the full score of 48, which was 97.31 percent. Also, there was a difference in the participants' attitude between before and after the training at a statistically significant level of .01, with the higher mean after training than before training.

  3. The overall satisfaction of participants was at a high level มาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.34, S.D. = 0.45). When considering in each aspect, it was found that the satisfaction in the training was at a high level in every aspect. The first 3 aspects that had the highest mean could be prioritized as follows: training objectives achievement; training operation; the ability of trainers ( gif.latex?\bar{X}= 4.38, S.D. = 0.49, gif.latex?\bar{X}= 4.36, S.D. = 0.51,gif.latex?\bar{X} = 4.31, S.D. = 0.48). The efficiency of the project-based learning training curriculum of primary-level English teachers under the Office of the Basic Education Commission was at 81.81/88.20, which was higher than 80/80 criteria.

Article Details

Section
Research Article