การสร้างแบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูนเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูนเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูน เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูน เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา กรุงเทพมหานคร ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา 2) แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูนเรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และ t-test แบบ Independent
ผลการวิจัยพบว่า
- แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูนเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.29/89.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูน เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนมีเกณฑ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการใช้แบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูน เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมเห็นด้วยมาก ( = 2.90, S.D. = 0.30)
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to develop the Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade students and to be effective as be 80/80 criterion, 2) to compare learning achievement of a development of writing Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade students before and after learning, and 3) to investigate student’s opinions towards learning activities after using the development of writing Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade students. The sample group studies used in this study were 30 students from Wat Chaiyaprueksamala School in the first semester of 2015 academic year by Simple Random Sampling and used the school was random unit. The instruments used in study were 1) lesson plan of Thai word spelling, 2) the exercise of Thai word spelling in combination with cartoons, 3) The test of Thai word spelling ability, and 4) Student’s opinions learning writing Thai word spelling by using the exercise in combination with cartoons. Data were analyzed by using the statistic of Mean, Standard deviation, and content analysis and independent t-test.
The research findings were as:
- The development of writing Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade students was 91.29/89.33. It showed that the development of writing Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade students was higher effective than criteria.
- Achievement of students using the development of writing Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade student was higher than the pre-test at level of statistical significance .05
- Student’s opinions towards learning writing skill by using the development of writing Thai word spelling exercise in combination with cartoons for third grade students were appropriate in a good level. ( = 2.90, S.D. = 0.30)
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา